Thursday, February 28, 2019

Digital Forensics:คดี ปฏิบัติการรวบผู้แชร์ข่าวปลอม

Digital Forensics:คดี ปฏิบัติการรวบผู้แชร์ข่าวปลอม

ปฏิบัติการรวบผู้แชร์ข่าวปลอม

เพื่อทำลายความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงของประเทศ และก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
ตามนโยบายของรัฐบาล , สำนักงานตำรวจแห่งชาติ , กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง , สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง , กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โดย พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผบช.สตม., พล.ต.ต.ไพบูลย์ น้อยหุ่น ผบก.ปอท., พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม ผบก.สส.สตม., พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง ผบก.ตม.3 พล.ต.ต.นิธิธร จินตกานนท์ ผบก.จร. และ พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ ผกก.3 บก.ปอท. ได้ร่วมกันแถลงข่าวการดำเนินการกับผู้ต้องหากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
 ตามที่มีบุคคลนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยได้มีการโพสต์บทความบิดเบือนให้ร้ายรัฐบาลในเว็บไซต์ jookthai.com โดยพาดหัวข่าวว่า “เกณฑ์ทหาร 2 เป็น 4 ปี” และ “บิ๊กแดง จับมือ บิ๊กตู่ ร่างกฎหมายใหม่ ทหารเกณฑ์เป็น 4 ปีเต็ม ไม่มีพลัด ห้ามกลับบ้าน” พร้อมการนำภาพ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก มาตัดต่อรวมกัน เพื่อนำมาเป็นสื่อกระจายแก่บุคคลต่าง ๆ ซึ่งการดัดแปลงดังกล่าว อาจส่งผลทำให้ประชาชนที่ได้รับสื่อเกิดความตื่นตระหนก และหลงเชื่อได้ว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลจริง ต่อมา พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ ฝ่ายกฎหมาย คสช. ได้รับมอบอำนาจจาก คสช. ให้มาร้องทุกข์กล่าวโทษในกรณีดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวน กก.3 บก.ปอท. จากการสืบสวนทราบว่ามีผู้เผยแพร่และส่งต่อข่าวปลอมดังกล่าว ซึ่งกระทำผิดฐาน “นำเข้า เผยแพร่ หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” ตามมาตรา 14(2)(5) พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยในวันนี้ มีผู้กระทำความผิดมาพบพนักงานสอบสวน บก.ปอท. จำนวน 11 ราย ประกอบด้วย ผู้นำเข้า 2 ราย และ ผู้แชร์ 9 ราย ซึ่งทาง บก.ปอท. จะได้ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

 ดังนั้น ในห้วงเวลานี้ ใกล้สู่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 จะมีการหาเสียงจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง และอาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีสร้างความปั่นป่วนผู้สมัครรับเลือกตั้ง สร้างข่าวปลอมโจมตีใส่ร้ายป้ายสีรัฐบาลและผู้สมัครรับเลือกตั้ง ทำลายความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงของประเทศ และก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน จึงขอประชาสัมพันธ์ประชาชนในการติดตามข่าวสาร ควรมีการตรวจสอบ แหล่งที่มาของข่าวสาร มีสติไตร่ตรอง ก่อนแชร์หรือส่งต่อข่าวสาร เพื่อไม่ให้ตกเป็นผู้ต้องหาในคดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

Digital Forensics: Case Study

ที่มา: ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ - ศปอส.ตร.
https://bit.ly/2GJ2Mrh 

หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WindowsForensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics

#computerforensic #investigation #cybercrime #fraud

No comments:

Post a Comment

เจาะลึก 14 Certifications ด้าน Cybersecurity

เจาะลึก 14 Certifications ด้าน Cybersecurity เจาะลึก 14 Certifications ด้าน Cybersecurity ที่น่าสนใจ! แชร์มุมมองส่วนตัวเกี่ยวกับ certificati...