Monday, April 27, 2015

Digital Forensics: แนวทางการสืบสวนการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

Digital Forensics: แนวทางการสืบสวนการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

แนวทางการสืบสวนการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

การสืบสวนการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

การจัดเก็บและรวบรวมพยานหลักฐานทางดิจิทัลและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

พยานหลักฐานทางดิจิทัลและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

 ลักษณะของพยานหลักฐานดิจิทัลหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

พยานหลักฐานดิจิทัล

วิธีการตรวจสอบพิสูจน์เพื่อค้นหาหลักฐานทางดิจิทัลและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

หลักฐานทางดิจิทัลและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์


หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WindowsForensic #computerforensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics #investigation #cybercrime #fraud#พยานหลักฐานดิจิทัล

Digital Forensics:การสืบสวนสอบสวนทางการเงิน

Digital Forensics:การสืบสวนสอบสวนทางการเงิน

 การสืบสวน (Investigation) หมายถึง

การสืบสวน (Investigation) หมายถึง การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบรายละเอียด พูดง่าย ๆ การสืบสวนคือขั้นตอนผู้ต้องสงสัย ยังไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด
          การสอบสวน (Inquiry) หมายถึง การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริง ขั้นตอนนี้ก็คือ ได้ผู้ต้องสงสัยแล้ว และก็รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเอาผิด
          การไต่สวนหรือการไต่สวนมูลฟ้อง (Preliminary Examination) หมายถึง กระบวนการไต่สวนของศาลเพื่อวินิจฉัยถึงมูลคดีซึ่งจำเลยต้องหา ขั้นตอนนี้ คือ ศาลจะเป็นผู้ไต่สวนและผู้ต้องหาก็จะถูกเรียกว่าจำเลยในประเทศสหรัฐอเมริกา หน่วยงานสรรพากรสหรัฐอเมริกา (IRS) และการสืบสวนอาชญากร พันธกิจของสรรพากรสหรัฐอเมริกา ให้บริการแก่ผู้เสียภาษีชาวอเมริกันด้วยคุณภาพสูงสุดโดยการช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและช่วยให้บรรลุภาระหน้าที่การชำระภาษีและบังคับใช้กฎหมายด้วยความซื่อสัตย์และยุติธรรมต่อทุกคน
          นิยามของคำว่า "ช่องว่างทางภาษี” คือ จำนวนเงินภาษีค้างจ่ายทั้งหมดตามที่กฎหมายกำหนดให้ชำระในปีนั้น ๆ ซึ่งยังไม่ได้รับชำระโดยสมัครใจภายในเวลาที่กำหนด เพื่อให้การสนับสนุนภารกิจโดยรวมของ IRS ฝ่ายสืบสวนสวบสวนอาชญากรรับใช้ประชาชนชาวอเมริกันด้วยการสืบสวนความเป็นไปได้ในการฝ่าฝืนประมวลรัษฎากรและอาชญากรรมทางการเงินอื่นที่เกี่ยวข้องในแง่ของการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ระบบจัดการเก็บภาษีและการปฏิบัติตามกฎหมาย
          โดยฝ่ายสืบสวนอาชญากรรมของ IRS แบ่งเจ้าหน้าที่พิเศษ – IRS ดังนี้ 
๑) เจ้าหน้าที่สืบสวนด้านการเงิน 
๒) เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย สามารถพกพาอาวุธปืนได้ จับกุมได้ ปฏิบัติการสะกดรอยได้ และเข้าค้นและเข้าจับกุมตามหมายได้
          ประเภทของการสืบสวน แบ่งเป็น

                     ๑) อาชญากรรมภาษีซึ่งมีที่มาอย่างถูกกฎหมาย

                     ๒) อาชญากรรมการเงินซึ่งมีที่มาอย่างไม่ถูกกฎหมาย

                     ๓) อาชญากรรมการเงินเกี่ยวข้องกับยาเสพติด

                     ๔) อาชญากรรมการเงินที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย

          ลำดับความสำคัญในการปฏิบัติงานสืบสวน ได้แก่ ๑) การโกงภาษีระหว่างประเทศ ๒) การแสดงทรัพย์สินโดยสมัครใจ ได้แก่ ๑) การโกงภาษีระหว่างประเทศ ๒) การแสดงทรัพย์สินโดยสมัครใจ ๓) อาชญากรรมการคืนภาษี (การขอคืนภาษี การคืนภาษีที่มีข้อสงสัย การโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคล) ๔) การฟอกเงิน/พ.ร.บ. ความเป็นส่วนตัวทางการธนาคาร ๕) ชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดจากอาชญากรรมองค์กร (OCDETF) ๖) การต่อต้านการก่อการร้าย ๗) การยึดทรัพย์
          แหล่งที่มาของการสืบสวน จากฝ่ายปฏิบัติอื่นของ IRS จากสาธารณะชน จากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และอินเตอร์เน็ท ร้องขอจากสำนักงานอัยการสหรัฐ และได้รับความร่วมมือจากผู้ต้องหาและสายข่าว
          หน้าที่เชี่ยวชาญจำเพาะของเจ้าหน้าที่พิเศษ โดยการตรวจสอบคดีแบบรวมศูนย์ (Centerlized Case Reviewer) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสืบค้นข้อมูลคอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่ปลอมตัว ผู้ประสานงานยึดทรัพย์ เจ้าหน้าที่อุปกรณ์เทคนิค เจ้าหน้าที่ข้อมูลสาธารณะ วิทยากร และผู้ประสานงาน (ผู้ช่วยทูต) ซึ่งผู้ประสานงาน (ผู้ช่วยทูต) จะประจำการอยู่ทั่วโลก

          องค์ประกอบของการก่ออาชญากรรม โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

                ๑. อธิบายถึงองค์ประกอบของการก่ออาชญากรรม
                ๒. แยกแยะถึงระดับต่าง ๆ ของหลักฐานเพื่อการพิสูจน์ถึงองค์ประกอบนั้น ๆ
                ๓. เมื่อได้รับข้อมูลต่าง ๆ แล้ว จะต้องกำหนดได้ว่าอาชญากรรมนั้น ๆ จะสามารถได้รับการพิสูจน์ได้เมื่อใด
          ดังเช่น องค์ประกอบของประเทศไทย ได้แก่ การทุจริตทางการเงิน การหลีกเลี่ยงเสียภาษี และยาเสพติด

          องค์ประกอบของอาชญากรรม กฎหมายอาญา มีองค์ประกอบคือ :

               -การกระทำความผิด
               -หลักฐานที่เป็นองค์ประกอบเฉพาะของอาชญากรรม เป็นตัวพิสูจน์ความผิดทางอาญา
          องค์ประกอบในการพิสูจน์ ทุก ๆ องค์ประกอบของความผิดทางอาญาต้องได้รับการพิสูจน์โดยรัฐบาล การพิสูจน์ต้องตรงกับมาตรฐานของการพิสูจน์ ได้แก่ ต้องมีการพิสูจน์จนสิ้นสงสัย ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าผิดและมาตรฐานอื่น ๆ
          ประเภทของพยานหลักฐาน จะมีทั้งพยานหลักฐานโดยตรง เป็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงหรืออาชญากรรมโดยปราศจากการแทรกแซงใด ๆ ตัวอย่างได้แก่ พยานผู้เห็นเหตุการณ์ เงินฝากธนาคาร และกล้องวงจรปิด พยานแวดล้อมกรณี ซึ่งได้แก่ พิสูจน์ข้อเท็จจริงหรือาชญากรรมโดยการอนุมาน การอนุมานสภาพจิตใจของผู้ต้องสงสัยที่ก่ออาชญากรรมจากการกระทำหรือหรือความรู้ ตัวอย่าง การทำธุรกรรมทางการเงินที่มีความซับซ้อนโดยไม่จำเป็น การโอนเงินที่ขโมยไปให้ญาติ
         การฟอกเงิน หรือการแปรสภาพเงิน (Money Laundering)
               คำว่า "ฟอก” หมายถึง "ทำให้สะอาดหมดจด” หรือใช้ประกอบกับคำอื่น ๆ เช่น ฟอกผ้า ฟอกพยาน ฟอกโลหิต ก็มีความหมายไปทางดี แต่สำหรับ "การฟอกเงิน” นั้นเป็นการกระทำที่เป็นความผิดอาญาอุกฉกรรจ์ หลายคนยังอาจจะสงสัยว่า ทำไมจึงเป็นความผิดเช่นนั้น โดยมีคำตอบ ดังนี้
               การฟอกเงินหรือการแปรสภาพเงิน (Money Laundering) เป็นการกระทำใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางแหล่งที่มาของเงินที่ได้มาโดยมิชอบโดยการแปรหรือเปลี่ยนสภาพ "เงินสกปรก” ให้เป็นเงินสะอาดเพื่อพรางให้เห็นว่า เงินนั้นได้มาโดยถูกต้องตามกฎหมาย เช่น โดยการโอนเงินผ่านธนาคารต่างประเทศหรือผ่านธุรกิจของคนกลาง หรือนำเงินฝากไว้สนบัญชีลับแล้วนำมาปั่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ รวมตลอดถึงการนำเงินนั้นไปลงทุนในธุรกิจ หรือกิจการค้าที่ชอบด้วยกฎหมาย
               อีกนัยหนึ่ง คือ การกระทำ ที่เปลี่ยนทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำอันผิดกฎหมาย ให้เป็นทรัพย์สินที่ดูถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกแกะรอยไปถึงแหล่งที่มาอย่างผิดกฎหมาย
               การฟอกเงิน ถ้าพิจารณาแล้วจะเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาของคนที่มีรายได้มาจากการทำผิดกฎหมายและไม่ประสงค์จะให้ใครรู้ วิธีซุกซ่อนอย่างธรรมดาก็คือ ใส่ตู้เซฟให้มิดชิด ซ่อนไว้ในกำแพงหรือฝาผนัง หรือแบบไทย ๆ โบราณก็คือ ใส่โอ่งฝังดินไว้ อย่างไรก็ตาม สำหรับองค์กรอาชญากรรม เช่น นายทุนผู้ค้า ยาเสพติดมีรายได้มหาศาลจากการค้ายาเสพติด ไม่อาจกระทำเช่นนั้นได้ ผู้ค้ายาเสพติดมีวิธีการที่เหนือชั้นโดยการแปรหรือเปลี่ยนสภาพ "เงินสกปรก” ให้เป็นเงินสะอาด หรือดูเหมือนว่าเป็นรายได้ที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือมิให้เกิดปัญหาสงสัยจากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง

               ขั้นตอนของการฟอกเงิน ประกอบด้วย ๓ ขั้นตอน ได้แก่ :

               ๑. การหาที่เก็บเงิน คือ การยักย้าย เงินจะถูกนำเข้าสู่สถาบันการเงินหรือแปลงสภาพเป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้ เช่น คำสั่งจ่ายเงินหรือเช็คเดินทาง เป็นต้น ตัวอย่างเช่น เงินสดที่ได้รับจากผู้ลักลอบค้ายาเสพติดสามารถนำไปฝากธนาคารและเปลี่ยนเป็นคำสั่งจ่ายเงินหรือเช็คเดินทาง เป็นต้น
               ๒. การแยกเงิน คือ การปกปิด เงินจะถูกเคลื่อนย้ายไปบัญชีอื่นเพื่อซ่อนแหล่งที่มาของเงิน ตัวอย่างเช่น การโอนเงินเข้าและออกจากบัญชีธนาคารระหว่างประเทศหลาย ๆ บัญชี ผ่าน การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfers (EFT} เป็นต้น
              ๓. การรวมเงิน คือ การนำเข้ามาใช้ เงินจะถูกนำเข้ามาในระบบเศรษฐกิจอีกครั้ง และมักจะ นำมาซื้อสินทรัพย์ถูกกฎหมาย ลงทุนในธุรกิจถูกกฎหมายหรือก่ออาชญากรรม
               การฟอกเงินเป็นปัญหาระดับโลก ประเทศต่าง ๆ และองค์กรหลายแห่งได้ออกกฎหมายเพื่อต่อต้านการฟอกเงิน ในการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบต่อต้านการฟอกเงินและการก่อการร้ายนั้น เราจำเป็นต้องทราบ "สัญญาณเตือน” หรือกิจกรรมน่าสงสัยซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างการทำธุรกิจ หากพบเห็น "สัญญาณเตือน” จะต้องดำเนินการตรวจสอบสถานะทางการเงินเพิ่มเติมในระดับที่เหมาะสมและอาจจำเป็นต้องขออนุมัติเพิ่มเติมด้วย
การรายงานธุรกรรม
               ธุรกรรม หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวกับการทำนิติกรรม สัญญา หรือการดำเนินการใด ๆ กับผู้อื่นทางการเงิน ทางธุรกิจ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน (เป็นธุรกรรมที่ลูกค้าประสงค์ที่จะดำเนินการสร้างความสัมพันธ์กับธนาคาร หรือการใช้บริการของธนาคาร)

               การรายงานการทำธุรกรรมที่น่าสงสัย

               (๑) สถาบันทางการเงินควรรายงานเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่น่าสงสัย
               (๒) การรายงานการทำธุรกรรมที่น่าสงสัยนั้นควรกระทำเช่นเดียวกับการหาข้อมูลลับ (ห้ามเปิดเผยกับผู้ใด ยกเว้นเจ้าหน้าที่ตำรวจ)
               ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย หมายถึง ธุรกรรมที่มีความซับซ้อนผิดไปจากการทำธุรกรรมในลักษณะเดียวกันที่ทำกันอยู่ตามปกติ ธุรกรรมที่ขาดความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจ ธุรกรรมที่เหตุอันควรเชื่อได้ว่ากระทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย หรือธุรกรรมที่เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐาน
               ธุรกรรมที่น่าสงสัย ได้แก่

               (๑) การฝากเงินหลายครั้งในจำนวนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพียงเล็กน้อย

               (๒) การฝากเงินหลายครั้งในจำนวนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพียงเล็กน้อย

               (๓) จำนวนเงินฝากที่ไม่ตรงกับแหล่งที่มาของรายได้ของเจ้าของบัญชีตามที่แจ้งไว้

               (๔) มีผู้ถือบัญชีจำนวนมากซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกันและไม่มีวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ

               (๕) การฝากเงินที่ฝากแล้วโอนเข้าไปบัญชีอื่นหรือสถาบันการเงินอื่นทันที

               (๖) เปิดและปิดบัญชีในระยะเวลาอันสั้น และมีกระแสเงินเข้าออก

ตัวอย่าง ในการกำหนดธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
          -มีการทำธุรกรรมมากผิดปกติ -มีการฝากเงินสดจำนวนมาก
          -มีการทำธุรกรรมที่มีมูลค่ารวมของเงินจำนวนมหาศาล
          -มีการทำธุรกรรมที่ซับซ้อน เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีทั่วไปในการทำธุรกรรมประเภทนั้น ๆ 
             -มีการทำธุรกรรมในจำนวนเงินมูลค่าเงินที่ใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่กฎหมายกำหนดให้ธนาคารต้องรายงานต่อสำนักงาน
          -ลูกค้าของธนาคารทำธุรกรรมหรือประสงค์จะทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินหรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือประเทศที่เสี่ยงต่อการฟอกเงินหรือการก่อการร้าย
          -ลูกค้ามีการฝากเงินหรือโอนเงินผ่านเครื่องอัตโนมัติหรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศผิดปรกติ
          -ลูกค้ามีพฤติกรรมในการเปิดบัญชีที่ไม่น่าเชื่อถือ
          สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ประสบปัญหาการฟอกเงินมากเพราะจากการศึกษาวิเคราะห์พฤติการณ์ของผู้ค้ายาเสพย์ติด ปรากฏว่านำเงินรายได้จากการค้ายาเสพย์ติดไปหลบซ่อนหรือแปรสภาพ ดังนี้
          -ซุกซ่อนเงินที่ผิดกฎหมายนี้ไว้
          -นำเงินไปซื้อทองคำ
          -นำเงินใส่ในบัญชีลับและนำมาปั่นหุ้นในตลาดหุ้น
          -นำเงินรายได้จากการค้ายาเสพย์ติดนอกประเทศส่งกลับประเทศสหรัฐอเมริกาในสภาพเงิน สะอาด
          -นำเงินไปลงทุนในธุรกิจหรือกิจการค้าที่ชอบด้วยกฎหมาย
          ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับความลับในกิจการของธนาคาร (Bank Secrecy Act) เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๑๓ (ค.ศ. ๑๙๗๐) สาระสำคัญของกฎหมายนี้ คือ การกำหนดให้เอกชน ธนาคาร หรือสถาบันการเงินต้องรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงินทั้งในและนอกประเทศต่อรัฐบาลกลาง การฝ่าฝืนต้องระวางโทษทั้งจำและปรับ
          การกำหนดให้รายงานดังกล่าว ช่วยให้เจ้าหน้าที่ด้านปราบปรามสามารถทราบแหล่งที่มาของเงิน ปริมาณเงิน และความเคลื่อนไหวของเงินที่นำเข้าหรือส่งออกนอกประเทศ ซึ่งเดิมนั้น การขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเงินเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะข้อมูลจากธนาคารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เพราะประเทศต่าง ๆ จะมีกฎหมายคุ้มครองความลับของธนาคารของตน โดยธนาคารจะไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลในบัญชีของลูกค้าได้ และหากเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาตจะเป็นความผิดอาญา ธนาคารต่างประเทศจึงไม่อาจให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ปราบปรามของประเทศสหรัฐอเมริกา ในการสืบสวนพฤติการณ์ของผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดและกฎหมายอื่น ๆ ได้ 
          กฎหมายได้กำหนดให้สถาบันการเงินยื่นรายงานทางการเงิน (Currency Transaction Report-CTR) สำหรับการฝาก การถอน การแลกเปลี่ยน การจ่าย หรือการโอน ผ่านสถาบันการเงินนั้น ซึ่งมีจำนวน ๑๐,๐๐๐ เหรียญขึ้นไป โดยจะต้องยื่นภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่มีการกระทำเกี่ยวกับการเงินดังกล่าว มิฉะนั้น จะมีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับความลับในกิจการของธนาคาร เช่น การห้ามประกอบกิจการ หรือถูกปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ เหรียญ ในการทำความผิดแต่ละครั้ง  
         สำหรับบุคคลหรือนิติบุคคลก็ต้องยื่นรายงานทางการเงินสำหรับจำนวนเงินตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ เหรียญขึ้นไป เช่นเดียวกับสถาบันการเงิน และหากไม่กระทำตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จะถูกปรับทางแพ่งเป็นจำนวน ๑๐,๐๐๐ เหรียญและปรับทางอาญา ๕๐,๐๐๐ เหรียญ และ/หรือจำคุกไม่เกิน ๕ ปี
          รายงานทางการเงินจะช่วยให้สืบทราบถึงต้นตอของเงินที่ผิดกฎหมายได้ เช่น ในแบบ CTR จะกำหนดไว้ให้กรอกว่าใครเป็นผู้รับเงิน ใครเป็นผู้ส่งเงินหรือจ่ายเงิน และใครเป็นเจ้าของเงินที่แท้จริงถ้าผู้รับโอนเงินเป็นผู้ฝากเงิน แบบฟอร์ม CTR จะกำหนดให้ระบุข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขประกันสังคม หรือ หมายเลขหนังสือเดินทาง เป็นต้น
          ข้อสังเกต การฟอกเงินเป็นการกระทำที่ผู้ค้ายาเสพติดกระทำเพื่อปกปิดการได้มาของทรัพย์สินที่มาจากการค้ายาเสพติดช่วยป้องกันมิให้ถูกริบตามกฎหมาย ฉะนั้น ข้อมูลจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน เกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ทางการเงินจึงมีความสำคัญมากต่อการสืบสวนสอบสวน และการดำเนินคดีจนถึงขั้นริบทรัพย์สินในที่สุด
          ประเทศสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายปราบปรามการฟอกเงินโดยตรง คือ กฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงิน (The Money Laundering Act, 1986) ซึ่งกำหนดให้การกระทำต่าง ๆ เกี่ยวกับการฟอกเงิน เช่น ปลอมแปลงหรือปกปิดแหล่งที่มาของเงิน หรือทรัพย์สิน หรืออื่น ๆ เป็นความผิดอาญาอุกฉกรรจ์ (felong)
กฎหมายอาชญากรรมทางเศรษฐกิจขอบงประเทศสหรัฐอเมริกา
          อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (White Collar Crime) เป็นอาชญากรรมร้ายแรง ที่รัฐบางรัฐและรัฐบาลมลรัฐให้ความสำคัญในการป้องกันและปราบปรามเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ ได้ออกกฎหมายจำนวนมากออกมา เพื่อให้หน่วยงานสอบสวนของตำรวจ FBI มีอำนาจสอบสวนได้ทั่วประเทศ หากการกระทำความผิดเกิดขึ้นในลักษณะข้ามเขตมลรัฐ หรือเขตอำนาจของรัฐใดรัฐหนึ่ง
          การสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจนั้น โดยหลักการแล้วจะใช้วิธีการสืบสวน และ รวบรวมพยานหลักฐานด้วยวิธีการพิเศษ โดยใช้คณะลูกขุนใหญ่ หรือ Grand Jury Investigation เนื่องจาก อาชญากรรมทางเศรษฐกิจเป็นอาชญากรรมร้ายแรง เป็นภัยคุกคามต่อสังคมและระบบเศรษฐกิจ สร้างความเสียหายแก่ปัจเจกชนได้มาก การจะฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีประเภทนี้ จึงต้องใช้วิธีการรวบรวมพยานหลักฐานที่พิเศษกว่าการสืบสวนสอบสวนคดีปกติทั่วไป เนื่องจาก Grand Jury Investigation นั้นสามารถบังคับให้จำเลยหรือพยานให้การแก่คณะลูกขุนได้
          การสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ที่ดำเนินการโดยระบบ Grand Jury Investigation ยังมีข้อพิเศษตรงที่ว่า สามารถสร้างข้อกำหนดอันมีลักษณะเป็นข้อยกเว้นสิทธิทางรัฐธรรมนูญได้บางประการ โดยมีหลักประกันอื่นเข้ามาทดแทน เช่น สิทธิที่จะมีทนายระหว่างการสอบสวนปากคำนั้น อาจจะถูกจำกัดลงได้ด้วย ในลักษณะที่ว่า จำเลยต้องให้การต่อคณะลูกขุนโดยลำพัง แต่อาจจะขอเวลามาปรึกษากับทนายความที่อยู่นอกห้องสอบสวนได้
               ประเภทของการกระทำความผิด ความผิดพื้นฐาน มีดังนี้
               ๑. การมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้กระทำความผิดและการหาเงินจากการกระทำผิดกฎหมาย
               ๒. ผู้ก่อการร้าย (รวมถึงการสนับสนุนทางการเงินให้กับผู้ก่อการร้าย)
               ๓. การค้ามนุษย์และการลักลอบขนย้ายผู้อพยพ
               ๔. การค้าประเวณี (รวมถึงผู้เยาว์)
               ๕. การลักลอบค้ายาเสพติดและวัตถุที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท
               ๖. การลักลอบค้าอาวุธ ๗. การลักลอบค้าสิ่งของของที่ถูกขโมยมาและอื่น
               ๘. การทุจริตคอรัปชั่นและการให้สินบน ๙. การปลอมแปลง ฉ้อโกง
               ๑๐. การผลิตธนบัตรปลอม
               ๑๑. การปลอมแปลงหรือลอกเลียนแบบสินค้า
               ๑๒. การกระทำความผิดด้านสิ่งแวดล้อม
               ๑๓. ฆาตกรรม , ทำร้ายร่างกาย
               ๑๔. การลักพาตัว , การกักขังหน่วงเหนี่ยวอย่างผิดกฎหมาย และการจับกุมตัวประกัน
               ๑๕. การปล้น หรือลักทรัพย์ , การลักลอบ
               ๑๖. การขู่กรรโชก
               ๑๗. การปลอมแปลง
               ๑๘. การละเมิดลิขสิทธิ์
               ๑๙. การใช้ข้อมูลภายใน และการปั่นหุ้น
          การบัญชีในการสืบสวนทางการเงิน กรมสรรพากร สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
               (๑) ระบุความจำเป็นของบุคคลและธุรกิจในการรักษาสมุดและบันทึกทางการเงิน
               (๒) นิยามคำศัพท์การบัญชีพื้นฐานและอธิบายขั้นตอนการทำบัญชี
               (๓) สิ่งบ่งชี้อ้างอิงของการปลอมแปลงทางการเงินและกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย
               (๔) เมื่อได้รับสถานการณ์ ให้เตรียมและวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน
          สมุดบัญชีและบันทึกทางบัญชี จำเป็นต้องมีเพื่อกำหนดว่าเป็นการทำเงินหรือเสียเงิน จะได้ทราบว่ามีการได้รับและเสียเงินเป็นจำนวนเท่าไร และติดตามแหล่งเงินและการจัดการเงินทุน เป็นต้น
          การบัญชี หมายถึง การบันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถพิจารณาและตัดสินใจตามข้อมูลที่ได้รับ
          การจำแนกประเภท
               สามารถจำแนกประเภทการบัญชีได้เป็น ๒ หมวด คือ
               การบัญชีการเงิน คือ การจัดทำบัญชีที่อยู่ภายใต้วัฏจักรการบัญชี มีการสร้างระบบประมวลผลข้อมูลทางบัญชีพื้นฐานของธุรกิจเริ่มตั้งแต่การจัดเก็บรวบรวมเอกสารขั้นต้นซึ่งบรรจุรายการเปลี่ยนแปลงทางการค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมาบันทึกรายการในสมุดขั้นต้นหรือสมุดรายวันและผ่านบัญชีไปยังสมุดบัญชีแยกประเภท จากนั้นจึงทำการสรุปยอดคงเหลือในงบทดลองก่อนปรับปรุงรายการเมื่อสิ้นงวดเวลา บัญชีก็จะดำเนินการปรับปรุงรายการบัญชีบางประเภท หลังจากนั้นจึงจัดทำงบกำไรขาดทุนพร้อมทั้งดำเนินการปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีทุนหรือส่วนของเจ้าของและทำการปรับปรุงงบทดลองหลังปิดบัญชี
          หลักการจำแนกประเภทบัญชี จำแนกออกเป็น ๕ หมวด ดังนี้
               (๑) สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของธุรกิจและสามารถนำไปใช้อนาคต สินทรัพย์บางชนิดอาจเกิดจากการแลกเปลี่ยนทรัพยากร
               (๒) หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันที่ส่งผลมาจากการกู้ยืมเงินในอดีต มีสัญญาว่าจะมี การชำระหนี้สินหรือภาระผูกพันนั้นในอนาคต
               (๓) ส่วนของเจ้าของ หมายถึง จำนวนเงินลงทุนในธุรกิจอีกนัยหนึ่งคือ ส่วนได้เสียคงเหลือใน สินทรัพย์ของกิจการภายหลังจากที่มีการหักหนี้สินออกแล้ว
               (๔) รายได้ หมายถึง ราคาสินค้าหรือบริการที่ขายได้ในระหว่างงวดเวลาบัญชี รวมถึงรายได้ กำไรที่แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ อาจเกิดจากกิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้
               (๕) ค่าใช้จ่าย หมายถึง ต้นทุนของทรัพยากรที่ใช้ไปในการดำเนินงานของธุรกิจระหว่างเวลา งวดบัญชี รวมถึงรายการขาดทุนที่แสดงถึงการลดลงของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอาจจะเกิดจากกิจกรรมตามปกติของกิจกรรมหรือไม่ก็ได้
          หลักการบัญชีคู่ คือ การบันทึกรายการเปลี่ยนแปลงสองครั้งหรือการอ้างอิงถึงตัวเลขทางการเงินของรายการค้าถึงสองครั้งโดยครอบคลุมไปถึงการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันและสมุดบัญชีแยกประเภท คือ ด้านเดบิต ด้านเครดิต
          หลักการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย ได้ ๒ วิธี คือ
          เกณฑ์เงินสด รายได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นและบันทึกบัญชีเมื่อมีการรับเงินสดเข้ากิจการหรือจ่ายเงินสดออกจากกิจการ
          เกณฑ์คงค้าง รายได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นและบันทึกบัญชีเมื่อมีธุรกรรมเกิดขึ้นแม้ว่าจะไม่มีการรับหรือจ่ายเงินสดก็ตามสามารถยกตัวอย่างเพื่ออธิบายดังนี้
               -การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อจะรับรู้รายได้เป็นงวดบัญชีที่มีการขายเกิดขึ้นจริงเท่านั้น
               -การจ่ายชำระค่าไฟฟ้าของเดือนมีนาคมแต่จ่ายชำระจริงในเดือนเมษายนก็จะต้องรับรู้ค่าใช้จ่าย ในเดือนมีนาคม
          เอกสารทางการบัญชี คือ หลักฐานซึ่งอยู่ในรูปแบบของเอกสารที่ใช้บันทึกรายการบัญชีมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่เอกสารที่ระบุแหล่งข้อมูลเบื้องต้นจนกระทั่งเอกสารที่ใช้บันทึก ข้อมูลก่อนที่จะออกงบการเงิน จำแนกได้ ๔ ประเภท ดังนี้
               (๑) เอกสารขั้นต้น เอกสารใช้สำหรับการลงบัญชีและบันทึกรายการเริ่มตั้งแต่การเกิดรายการค้า
               (๒) สมุดรายวัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสมุดบัญชี คือ เอกสารที่นำมาใช้สำหรับการบันทึกบัญชีในระบบมือ          
               (๓) บัญชีแยกประเภท เอกสารที่ได้จากการผ่านรายการบัญชีจากสมุดรายวันโดยมีการจำแนกหมวดหมู่บัญชีที่เกี่ยวข้อง
               (๔) งบทดลอง เอกสารที่แสดงยอดคงเหลือในบัญชีทุกบัญชีของบัญชีแยกประเภท
          รายงานทางการเงิน คือ รายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากระบบสารสนเทศทางการบัญชีการเงิน หรือระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงิน แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ
          งบการเงิน รายงานที่แสดงผลการดำเนินฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของ กิจการ แบ่งได้ดังนี้
               -งบดุล แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ
               -งบกำไรขาดทุน แสดงผลการดำเนินงานของธุรกิจ
               -งบกระแสเงินสด งบแสดงการไหลเข้าและไหลออกของกระแสเงินสด
               -งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ
               -หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลหรือรายละเอียดจากรายการและตัวเลขที่ แสดงในงบการเงิน
กระบวนการเชิงสอบสวน กระบวนการสอบสวนในประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีวิธีการสอบสวนโดยการจัดทำงบการเงิน สมุดบัญชีแยกประเภท สมุดรายวัน เอกสารต้นฉบับ ซึ่งเป็นกระบวนการกลับกันกับการจัดทำบัญชี โดยวิเคราะห์จากงบการเงินก่อน
สิ่งบ่งชี้ของการปลอมแปลงเอกสาร/กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย
               -การรักษาสมุดบัญชีและบันทึกทางบัญชีสองชุด
               -การทำลายสมุดบัญชีและบันทึกทางบัญชี
               -ใบกำกับภาษีปลอมหรือถูกแก้ไข
               -เงินกู้จากต่างประเทศที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
               -ดำเนินรายการธุรกรรมเงินตราขนาดใหญ่อยู่เสมอในธุรกิจที่ไม่ใช้เงินสดเป็นหลัก
               -การฝากเงินธนาคารที่ไม่สามารถติดตามหาแหล่งที่มาได้
               -บริษัท/บุคคลปลอม
               -การให้เงินกู้จำนวนเงินมากแก่ลูกจ้าง 
               -การซุกซ่อนสินทรัพย์ -การใช้ตัวแทน
               -ใช้เช็คที่สั่งจ่ายโดยธนาคารหรือแคชเชียร์เช็คอยู่เสมอ
               -การจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนตัวด้วยเงินทุนของธุรกิจ
การสอบปากคำของเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีทางการเงิน
วัตถุประสงค์
          ๑. สามารถระบุถึงเป้าประสงค์ของการสอบปากคำได้
          ๒. สามารถกำหนดรายการขั้นตอนการเตรียมตัวสอบปากคำได้
          ๓. สามารถอธิบายกระบวนการในการสอบปากคำได้
          ๔. สามารถระบุถึงวิธีการที่แตกต่างกันของการบันทึกถ้อยคำได้
การสอบปากคำ คือ การสนทนาแบบมีเป้าประสงค์
ทำไมต้องมีการสอบปากคำ
          ๑. เพื่อให้ได้เป็นผู้นำการสนทนา
          ๒. เพื่อพัฒนาข้อมูล
          ๓. เพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน
          ๔. เพื่อล้วงข้อมูลจากคำให้การไปประกอบการพิจารณาว่าครบองค์ประกอบในการตั้งข้อกล่าวหาหรือไม่ กลไกของการสอบปากคำ
          ๑. การเตรียมตัว/การวางแผน ได้แก่ การที่เราจะต้องทราบคดี ต้องรู้ประวัติของการฟอกเงิน
          ๒. การดำเนินการสอบปากคำ ต้องรู้องค์ประกอบของการกระทำผิด และจะต้องรู้ว่าเราจะถามอะไร
          ๓. การบันทึกถ้อยคำอย่างถูกต้องเหมาะสม จะต้องมีการบันทึกอย่างดี จดทุกอย่าง และพยายามค้นหาและสนทนากันอีกครั้งหนึ่ง
โครงเรื่องที่จะสอบปากคำ
          โครงเรื่อง คือ แนวทางดำเนินการในสิ่งที่เราต้องการ เช่น อยากจะได้ข้อมูลอะไรบ้าง และจะรู้ข้อมูลเหล่านี้ได้จากที่ไหน จากธนาคาร แหล่งของเงิน การโอนเงิน และจากรายงานของธนาคาร เป็นต้น เขียนทุกอย่างที่จะต้องไปพูดคุยกับผู้ต้องสงสัย และจะต้องรู้ข้อมูลของบุคคลอื่นด้วย สิ่งที่สำคัญ ไม่ควรมีสิ่งที่ไม่ควรถาม/ไม่ควรเขียนคำถามทุกคำถามไว้ในโครงเรื่อง
สถานที่สอบปากคำ
          -ควรเป็นสถานที่ของเราเอง จะได้ควบคุมได้ง่ายกว่า
          -สถานที่ของเขา เขาจะได้รู้จักผ่อนคลายกว่า นอกจากนั้นแล้วยังเข้าถึงตัวตนของเขาได้มากกว่า และ สามารถค้นหาบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ตามที่เราร้องขอได้ทันที
          -สถานที่กลาง บางครั้งมีภัยคุกคามน้อยที่สุด เช่น สถานีตำรวจ
กาลเทศะ
          -ควรสอบปากคำให้เป็นอันดับแรก ผู้ต้องสงสัย เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี/ฝ่ายคำนวณภาษี พยานฝ่ายเรา พยานฝ่ายตรงข้าม การสอบปากคำไม่จำเป็นต้องสอบปากคำผู้ต้องสงสัยก่อน เพราะเขาอาจจะเตรียมตัวที่จะโกหกและปิดบังเราก็ได้ หรือคุยกับพยานฝ่ายตรงข้ามเรา การที่จะเรียกใครคุยนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือข้อมูลที่เรามีอยู่ด้วย
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
          (๑) การวางตัว สิ่งที่ควรทำ ได้แก่ การแนะนำตัวเอง พยายามอย่าให้การสนทนานั้นเป็น ทางการมาก พูดจาฉะฉานมั่นใจและเป็นมิตร เป็นมืออาชีพ ให้ความยุติธรรม เปิดใจรับฟัง ประเมินคำตอบทั้งหลายบนพื้นฐานของกุศลจิต ซื่อสัตย์ เป็นผู้ฟังที่ดี นำการสอบสวนโดยปราศจาก การครอบงำ มองตาอยู่เสมอ และคุณคือผู้ค้นหาข้อเท็จจริง สิ่งที่ไม่ควรทำ ได้แก่ พยายามสร้างความประทับใจ สบประมาท ล้อเลียนหรือเย้ยหยัน ตะคอกหรือตะโกน และเป็นปรปักษ์
          (๒) ไมตรีจิต คือ การสร้างความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่าย โดยต้องหาจุดใดจุดหนึ่งให้มีสัมพันธภาพที่ดี ได้แก่ เป็นมิตร ค้นหาสิ่งที่เหมือนกัน ซื่อสัตย์ รับฟังรายละเอียดต่าง ๆ ด้วยความใส่ใจ อย่าหลุดประเด็น อดทนอดกลั้น แสดงออกว่าเป็นเรื่องจริงจัง
          (๓) การเข้าหา ได้แก่ เมื่อพูดถึงพยาน ให้เอ่ยชื่อของเขาก่อน แนะนำตัวเองโดยบอกชื่อ ตำแหน่ง หน่วยงาน แสดงบัตรแสดงตน แนะนำให้รู้จักคนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และอธิบายหน้าที่และเป้าประสงค์ ของเรา
          (๔) การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ ได้แก่ เปิดใจรับฟังข้อมูล ตื่นตัวต่อข้อมูลใหม่ที่ได้รับ - ปรับ คำถามให้สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้รับ จำไว้ว่า "โครงเรื่อง” คือตัวช่วย - อย่าตั้งคำถามที่ออกนอกประเด็น
          (๕) เทคนิคการควบคุม ได้แก่ อธิบายบทบาทของแต่ละคน แสดงกำลังอย่างเต็มพิกัดและดำรงไว้ซึ่ง การควบคุมห้ามใช้ความรุนแรงหรือคำหยาบคายโดยเด็ดขาด ขอคำแนะนำจากพนักงานอัยการ เพราะนั่นคือหน้าที่ของอัยการ
ปัญหาในการควบคุม ได้แก่ การหารือนอกรอบแบบไม่ลงบันทึก การตอบ วกไปวนมา การพูดประเด็นอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้อง การขัดจังหวะ การเลี่ยงประเด็นหรือกำกวม คำตอบที่ใจความไม่สมบูรณ์ การตีความหมายผิดเพี้ยนซึ่งไม่สามารถกระทำได้
เทคนิคในการตั้งคำถาม จะต้องตอบคำถามให้ได้ดังนี้
          ๑. Who : ใครคือผู้ต้องสงสัย , ใครเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด , ใครเป็นเหยื่อ , ใครคือพยานที่รู้เห็น , ใครเป็นผู้รับผิดชอบคดี , ใครเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับวัตถุพยาน
          ๒. What : เป็นคดีประเภทอะไร , เกิดอะไรขึ้นโดยบรรยายสภาพเหยื่อ ผู้ต้องสงสัยและพยาน , มีการใช้อุปกรณ์ในการป้องกันอะไรบ้าง เช่น ตู้นิรภัย สัญญาณกันขโมย , คนร้ายต้องใช้ความรู้ความชำนาญหรือกำลังทำอะไรในการก่ออาชญากรรม
          ๓. Where : เหตุเกิดที่ไหน , พบวัตถุพยานที่ใด , พบศพหรือเหยื่อที่ใด , ผู้ต้องสงสัยถูกจับกุมที่ใด
          ๔. When : เหตุเกิดเมื่อไร , ตำรวจ ได้มาถึงที่เกิดเหตุเมื่อเวลาใด
          ๕ How : เกิดเหตุขึ้นได้อย่างไร , เหตุที่เกิดเกี่ยวเนื่องกับเหตุอื่นอย่างไร , พยานหลักฐานถูกพบได้ อย่างไร , อาชญากรนั้นถูกค้นพบได้อย่างไร , ข้อมูลต่าง ๆ ได้มาอย่างไร
          ๖. Why : ทำไมถึงเกิดเหตุขึ้น , มีอะไรเป็นแรงจูงใจ (Motive) , ทำไม่ถึงแน่ใจว่าทรัพย์สินถูก โจรกรรมไป , ทำไมคนร้ายจึงเลือกเอาช่วงเวลานี้ก่ออาชญากรรม
          จากการที่ได้รับการอบรมหลักสูตร "การสืบสวนสอบสวนทางการเงิน” โดยเนื้อหาเป็นการบรรยายสรุปเกี่ยวกับสรรพากรสหรัฐอเมริกา (IRS) และการสืบสวนอาชญากร ซึ่งเป็นการปราบปรามการคอรัปชั่นของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ใช้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง ดังเช่น ที่เคยได้ยินกันมาแม้แต่มาเฟียใหญ่อย่าง อัล คาโปน ที่หลุดรอดคดีอาญาทุกคดี ก็ยังมาจอดด้วยคดีนี้ คือคดีหนีภาษี ซึ่งมีโทษทางอาญาอย่างหนักด้วย เพราะถือว่าเป็นการโกงบ้านโกงเมือง การตรวจสอบทรัพย์สิน และยึดทรัพย์ของนักการเมืองและนักธุรกิจ นักค้ายาเสพติด ฯลฯ ที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายแบบระบบอเมริกันในการมอบอำนาจเต็มกับกรมสรรพากร หรือ IRS (Internal Revenue Service) ที่ทำงานเป็นอิสระและขึ้นต่อกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจออกคำสั่งยึดทรัพย์ที่ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ที่มาอย่างถูกกฎหมายและได้จ่ายภาษีมาแล้ว โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการศาล แต่ใช้หลักการว่า ถ้าพิสูจน์ว่าได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมายไม่ได้ก็แสดงว่าต้องได้มาอย่างผิดกฎหมาย จนกว่าจะหาหลักฐานมาพิสูจน์ได้ก็ขอคืนได้ เช่น มีเงินเพิ่ม ๑๐๐ ล้านบาท ต้องจ่ายภาษีอัตรา ร้อยละ ๕๐ ถ้ายังไม่ได้จ่ายก็จะถูกหักออกไป ๕๐ ล้าน เป็นค่าภาษีก่อน ส่วนอีก ๕๐ ล้าน ถ้าไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ในระยะเวลาที่กำหนดก็จะถูกยึด โดยกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง Racketeer Influenced and Corrupt Organizations Act , commonly referred to as the RICO Act อำนาจในการยึดทรัพย์รวมถึงการห้ามเดินทางออกนอกประเทศสำหรับผู้ไม่จ่ายภาษี ของ IRS เรียกว่า Levy
          สำหรับในประเทศไทยติดอันดับการคอรัปชั่นในระดับสูงของโลก องค์กรความโปร่งใสระหว่างประเทศ หรือ Transparency International (TI) จัดอันดับประเทศคอรัปชั่นทั่วโลก ไทยติดอันดับ ๓ คอรัปชั่นสูงสุดในภูมิภาคอาเซียน โดยถ้าประเทศไทยนำเอาวิธีการข้างต้นของประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้โดยเปิดช่องให้ประชาชนทุกคนแจ้งเบาะแส ชี้เป้า หรือฟ้องร้องกล่าวหาได้ กรมสรรพากรก็ต้องเข้าไปตรวจสอบขอหลักฐานการจ่ายภาษีเป็นเบื้องต้น ถ้าไม่มีก็ยึดในจำนวนที่ต้องจ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ส่วนที่เหลือก็ให้ ป.ป.ง. หรือ ป.ป.ช. ตรวจสอบต่อไป วิธีการนี้น่าจะปราบคอรัปชั่นในประเทศไทยได้
          ดังนั้น "เจ้าหน้าที่ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ทุกท่าน” จะต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต โดยไม่กระทำการทุจริต การทุจริตคอรัปชั่น เป็นภัยร้ายแรงสำคัญที่ทำลายความมั่นคงของชาติ รัฐบาลจึงมีนโยบายว่าจะสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมทั้งพัฒนาความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของประชาชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน รวมถึงการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบตลอดจนสนับสนุนการสร้างค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องชอบธรรม สุดท้ายนี้ ขออัญเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้ "..ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียว ก็ขอแช่งให้มีอันเป็นไป พูดอย่างนี้หยาบคาย แต่ว่าขอให้มีอันเป็นไป แต่ถ้าไม่ทุจริต สุจริต และมีความตั้งใจ มุ่งมั่นสร้างความเจริญก็ขอให้ต่ออายุได้ถึง ๑๐๐ ปี ส่วนคนไหนที่มีอายุมากแล้ว ขอให้แข็งแรง ความสุจริตจะทำให้ประเทศไทยรอดพ้นอันตราย...” "..ภายใน ๑๐ ปี เมืองไทยน่าจะเจริญ ข้อสำคัญ คือ ต้องหยุดการทุจริตให้สำเร็จ และไม่ทุจริตเสียเอง...”
----------------------------------

ที่มา:จัดทำโดย กาญจนา วิมลไชยจิต

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ Cooperative Auditing Department 


หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WindowsForensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics #computerforensic #investigation #cybercrime #fraud

 

DIGITAL FORENSICS: BINWALK CTF

 DIGITAL FORENSICS: BINWALK CTF วันนี้แอดมาแนะนำหลักสูตร ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Basic Cyber security) สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษามี Lab ให...