Thursday, February 21, 2019

Digital Forensics: คดี ขโมยข้อมูลคอมพิวเตอร์บริษัทผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่

Digital Forensics: คดี ขโมยข้อมูลคอมพิวเตอร์บริษัทผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่

Digital Forensics:

    คำพิพากษาฎีกาที่ 5161/2547 ระบุว่าไม่ผิดฐานลักทรัพย์ เพราะถือว่าไม่ใช่ทรัพย์สิน แต่กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาถือว่าผิด

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 บัญญัติว่า “ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง” ข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูลจึงไม่ถือเป็นทรัพย์ การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์   
   
พนักงานดูดข้อมูลหรือลักข้อมูลในระบบทำอย่างไร ขโมยข้อมูล การปกปิดไม่ยอมบอกรหัส การลักรหัสผ่าน ลักแผ่นซีดีข้อมูล ขโมยข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทนายความต่อสู้คดีลักทรัพย์ข้อมูลในระบบอย่างไร

               ความผิดข้อหาลักทรัพย์นั้นทรัพย์ที่ลักจะต้องเป็นของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และต้องเป็นวัตถุที่มีรูปร่าง หากเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูล หรือรหัส (Password) ย่อมไม่เป็นทรัพย์ที่จะลักกันได้  เนื่องจากรหัสเป็นเพียงตัวเลขหรืออักษร และไม่ได้บรรจุรูปแบบไว้ในอุปกรณ์วัตถุใดๆ  แต่หากลักทรัพย์ที่เป็นตัวแผ่นซีดีที่มีฐานข้อมูลหรือรหัสดังกล่าวย่อมเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้

               ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ส่วนมากมักเป็นเรื่องผู้บริหารหรือพนักงานแอบนำข้อมูลฐานลูกค้าหรือสูตรไปให้ผู้อื่นหรือแอบนำไปเพื่อธุรกิจแข่งขันกับบริษัทเดิม หรือทำการปกปิดไม่ยอมบอกรหัสผ่านต่างๆ เป็นเหตุให้ได้รับความเสียหาย ดังนั้นแม้กรณีดังกล่าวมีเงื่อนไขหรือองค์ประกอบความผิดที่แตกต่างจากข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ควรดำเนินคดีไปในแนวทางที่ถูกต้อง เช่น ฟ้องคดีผิดสัญญาจ้างแรงงาน หรือฟ้องคดีฐานละเมิดทำให้บริษัทได้รับความเสียหายทางธุรกิจ หรือฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ที่ควรได้หรือรายได้ที่ลดน้อยลง เป็นต้น  ดังนั้นการวางแผนสำหรับการดำเนินคดีหรือการต่อสู้คดีให้ยกฟ้องดังกล่าวต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงในแต่ละเรื่องเป็นสำคัญ

ขโมยข้อมูลคอมพิวเตอร์

Digital Forensics: Case Study

ที่มา:https://www.peesirilaw.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1247061
    http://www.miracleconsultant.com
     http://www.siaminterlegal.com/lawyer/252-2018-01-03-04-13-15.html



* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WindowsForensic #computerforensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics #investigation #cybercrime #fraud

No comments:

Post a Comment

เจาะลึก 14 Certifications ด้าน Cybersecurity

เจาะลึก 14 Certifications ด้าน Cybersecurity เจาะลึก 14 Certifications ด้าน Cybersecurity ที่น่าสนใจ! แชร์มุมมองส่วนตัวเกี่ยวกับ certificati...