Sunday, January 26, 2025

Digital Forensics: Computer forensics Investigations Course (2 Day)

Digital Forensics: Computer forensics Investigations Course (2 Day)

หลักสูตรอบรมเตรียมพร้อมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ
Photo credit: Orion forensics lab

หลักสูตรอบรมการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ 2 วัน

หลักสูตรเตรียมความพร้อมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

วัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีความรู้ความเข้าใจในการพิสูจน์หลักฐาน ทางคอมพิวเตอร์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และเพิ่มประสิทธิภาพการช่วยเหลือประชาชนด้านคดีและภัยออนไลน์

Course Level:
The course is aimed at people who are responsible for digital forensic investigations or are wishing to become digital forensic investigators, To be used as a guideline for organizing short-term, intensive training for individuals who will be appointed as digital forensics officers. including: IT security professionals and law enforcement officers.

Day 1 – Computer Forensics


Day 2: Network/Internet Forensics


COURSE REQUIREMENTS
In preparation for the course, participants should download and install the following tools:

Laptop requirements:

  • OS: Windows 10
  • CPU: Core i3 or better
  • RAM: 4GB

Digital Forensics: Computer forensics Investigations Course (2 Day)
Computer forensics Investigations Course (2 Day) QR Code


Link กําหนดการจัดอบรมเตรียมความพร้อมผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ


คำถาม-ตอบ

Q. การแก้ไข Metadata ทำให้ค่า hash เปลี่ยนแปลงหรือไม่ ?

A. Metadata

Q. แนวทางการตรวจพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัลมีแนวทางหรือเอกสารอ้างอิงใดบ้าง?

A.  แนวทางการตรวจพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัลที่เกี่ยวข้อง

Q. มีเอกสารอ้างอิงเรื่อง ทำมัยต้องดึงปลั๊กไฟเพื่อปิดเครื่ืองคอมพิวเตอร์ที่เปิดอยู่ หรือไม่? 

A. SWGDE Best Practices for Digital Evidence Collection Version: 1.0

SWGDE Best Practices for Digital Evidence Collection Version: 1.0 (July 11, 2018),Page 6.

SWGDE Best Practices for Computer Forensics Version 2.1 (July 2006)
SWGDE Best Practices for Computer Forensics Version 2.1 (July 2006)

Collection and the handling of digital evidence
GUIDELINES FOR DIGITAL FORENSICS FIRST RESPONDERS ,InterPol, Page 17.

ACPO Good Practice Guide for Digital Evidence, Version 5 (October 2011) ,Page 32.


ข้อเสอนแนะมาตราฐานการจัดการอุปกรณ์ดิจิทัลในงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน
ข้อเสอนแนะมาตราฐานการจัดการอุปกรณ์ดิจิทัลในงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน ก.ย.2559 ,หน้า 6.

Q. หลักกฎหมายพยานหลักฐานเบื้องต้น..”

A.  หัวข้อที่ 4. พยานมีกี่ประเภท ?

Q. 3) พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์.. คือ หลักฐานที่เกิดจากนิติวิทยาศาสตร์ โดยการนำพยานหลักฐานมาผ่านกระบวนการวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี..
ไม่ใช่พยานตรง ไม่ใช่พยานอ้อม.. เพราะไม่เกี่ยวข้อง ไม่รู้เห็นเหตุการณ์นั้นเลยคล้ายกับพยานผู้เชี่ยวชาญ..
เช่น กลุ่มเลือด.. DNA.. รอยกระสุนปืน.. ผลตรวจข้อมูลคอมพิวเตอร์.. (digital forensic)..

พยานทางวิทยาศาสตร์นี้ ถ้ากระบวนการรวบรวม เก็บรักษา และวิเคราะห์ถูกต้องได้มาตรฐาน จะมีความเที่ยงแม่นยำสูง.. มีคุณค่าเชิงพิสูจน์มากเช่นกัน.. แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น ก็ไม่น่าเชื่อถือ..

ข้อมูลจาก: "หลักกฎหมายพยานหลักฐานเบื้องต้น" โพสต์นี้เหมาะกับนักศึกษากฎหมายใหม่.. และประชาชนที่สนใจเรื่องพยานหลักฐาน.. โดยจะเน้นพยานในคดีอาญานะครับ.. ดร.ธีร์รัฐ บุนนาค

5) วิธีชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ หรือคอมพิวเตอร์.?

A. โจทก์ต้องยืนยันได้ว่า.. ข้อเท็จจริงที่ได้ เกิดจากพยานที่นำมาตรวจวิเคราะห์ว่า.. เป็นพยานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์จริง.. ไม่ถูกแทรกแซงโดยบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง..

พยานหลักฐานยังคงสภาพและเนื้อหาตรงตามจริง ไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพราะธรรมชาติ หรือการกระทำของบุคคลใด รวมทั้ง เจ้าหน้าที่เอง..
ศาลในต่างประเทศจะชั่งน้ำหนัก โดยมีหลักว่า.. เจ้าหน้าที่ต้องรวบรวมพยานหลักฐาน.. เก็บรักษา.. ตรวจวิเคราะห์.. และส่งต่อกัน โดยใช้ขั้นตอนหลักปฏิบัติและเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานสากล..
หากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน หรือใช้เครื่องมือ ซอล์ฟแวร์ไม่ได้มาตรฐาน.. ศาลจะไม่รับฟังพยานหลักฐานนั้น..
เช่น ไม่ใส่ถุงมือขณะรวบรวมพยาน.. หรือไม่ใส่เครื่องโทรศัพท์ในถุงฟาราเดย์..
เก็บหลักฐานไว้ในที่อุณหภูมิสูงเกินไป.. ไม่ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์.
หรือขณะทำสำเนาก่อนตรวจพิสูจน์ ไม่มีการตรวจสอบความผิดพลาดด้วยโปรแกรม MD5.. เป็นต้น

วิธีชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ หรือคอมพิวเตอร์

ข้อมูลจาก: "หลักกฎหมายพยานหลักฐานเบื้องต้น" โพสต์นี้เหมาะกับนักศึกษากฎหมายใหม่.. และประชาชนที่สนใจเรื่องพยานหลักฐาน.. โดยจะเน้นพยานในคดีอาญานะครับ.. ดร.ธีร์รัฐ บุนนาค

Q. ยกตัวอย่างปัญหาการตรวจสอบไอพี (IP Address) จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

A. มีกรณีที่ผู้กระทำความผิดใช้งาน VPN (Virtual Private Network) เพื่อปกปิดหมายเลขไอพี (IP Address) ไว้ หากเจอกรณีดังกล่าวนี้ก็จะก่อให้เกิดความยุ่งยากในการค้นหาตัวผู้กระทำความผิดเพิ่มมากขึ้น เพราะการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่าน VPN นี้ จะทำให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศใดก็ได้ เช่น ผู้กระทำความผิดอาศัยอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย แต่ได้เชื่อมต่อบริการ VPN ให้เครือข่ายเน็ตเวิร์คของตนไปอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ดังนั้นกระบวนการตรวจสอบจากไอพี (IP Address) ของผู้กระทำความผิดก็จะไม่แสดงว่าผู้กระทำความผิดอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย แต่จะแสดงผลลัพธ์ว่าผู้กระทำความผิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น หากเกิดกรณีดังกล่าวข้างต้นนี้ ก็จะทำให้ไม่สามารถตามตัวผู้กระทำความผิดได้เลย (ยกเว้นในประเทศที่มีการพัฒนาของเทคโนโลยีไปในขั้นสูงแล้วเท่านั้น)

 

อ่านเพิ่มเติม :

ที่มา: Orion forensics Lab

หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูล  เผยแพร่ความรู้และให้โอกาสในการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการศึกษา   บุคคลที่สนใจโดยทั่วไป รวมถึงนักเรียน นิสิต นักศึกษา  ในการเรียนรู้เท่านั้น


* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WINDOWSFORENSIC #COMPUTERFORENSICS #DFIR #FORENSICS #DIGITALFORENSICS #COMPUTERFORENSIC #INVESTIGATION #CYBERCRIME #FRAUD #คดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ #พยานหลักฐานดิจิทัล

Saturday, January 25, 2025

หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Analyst)

หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Analyst)

สำนักวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Analyst)
Photo by:Thailand National Cyber Academy (THNCA) by NCSA
โครงการเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

ติวสอบ CompTIA CySA+
Photo by:Thailand National Cyber Academy (THNCA) by NCSA
หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Analyst)สมัครฟรี, เรียนฟรี, สอบฟรี


เป็นหลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สอดคล้องกับหลักสูตรประกาศนียบัตรสากลด้านการวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ CompTIA CySA+   ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหาตั้งแต่เรียนรู้การจัดการภัยคุกคามและช่องโหว่ ความปลอดภัยของซอฟต์แวร์และระบบ การปฏิบัติการและการตรวจสอบความปลอดภัย การตอบสนองต่อเหตุการณ์ รวมไปถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลและการปกป้องอีกด้วย ซึ่งจะเป็นความรู้สำคัญสำหรับการต่อยอดความชำนาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งในการทำงานและการศึกษาเพิ่มเติมในหลักสูตรขั้นสูงอื่นๆ ต่อไป

รายวิชาในหลักสูตร

หน่วยที่ 01  การจัดการภัยคุกคามและช่องโหว่

หน่วยที่ 02  ความปลอดภัยของซอฟต์แวร์และระบบ

หน่วยที่ 03 การปฏิบัติการและการตรวจสอบความปลอดภัย

หน่วยที่ 04 การตอบสนองต่อเหตุการณ์

แบบทดสอบคัดเลือกผู้เข้าอบรม: หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

เกณฑ์การได้รับสิทธิ์สอบใบประกาศนียบัตร CompTIA CySA+

(จำนวนสิทธิ์ทั้งหมด 150 สิทธิ์ ตลอดโครงการ)

  1. มีเวลาเข้าร่วมอบรมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 75%
  2. ทำข้อสอบวัดความรู้หลังเรียนได้คะแนนไม่น้อยกว่า 70%
  3. ผลคะแนนสอบวัดความรู้อยู่ในลำดับที่ 1-30 ของรุ่นที่เรียน

เกณฑ์การผ่านและได้รับใบประกาศนียบัตรจาก สกมช.

  1. มีเวลาเข้าร่วมอบรมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 75%
  2. ทำข้อสอบวัดความรู้หลังเรียนได้คะแนนไม่น้อยกว่า 70%
    หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Analyst)

    Photo by:Thailand National Cyber Academy (THNCA) by NCSA

หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Analyst)
Photo by:Thailand National Cyber Academy (THNCA) by NCSA

ฝึกทบทวนสำหรับการสอบหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Analyst)
Photo by:Thailand National Cyber Academy (THNCA) by NCSA


หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Analyst)
Photo by:Thailand National Cyber Academy (THNCA) by NCSA

ทบทวนสำหรับการสอบหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
 
หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Analyst)


ขอบคุณโครงการดีๆ จากสกมชที่ให้โอกาสครับ

ที่มา:  Thailand National Cyber Academy (THNCA) by NCSA : Intensive Cybersecurity Capacity Building Program  โดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ


อ่านเพิ่มเติม

หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูล  เผยแพร่ความรู้และให้โอกาสในการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการศึกษา   บุคคลที่สนใจโดยทั่วไป รวมถึงนักเรียน นิสิต นักศึกษา  ในการเรียนรู้เท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WINDOWSFORENSIC #COMPUTERFORENSICS #DFIR #FORENSICS #DIGITALFORENSICS #COMPUTERFORENSIC #INVESTIGATION #CYBERCRIME #FRAUD #คดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ #พยานหลักฐานดิจิทัล

Thursday, January 23, 2025

Digital Forensics: ปิดจบสยบ Fiwfans (ฟิวแฟน)

 Digital Forensics: ปิดจบสยบ Fiwfans (ฟิวแฟน)

DIGITAL FORENSICS: CASE STUDY 

Photo Credit: CIB ตำรวจสอบสวนกลาง

ปิดจบสยบ Fiwfans (ฟิวแฟน) จตช.แถลงตำรวจสอบสวนกลางเปิดปฏิบัติการปราบแพลตฟอร์มค้ามนุษย์เด็กออนไลน์ เงินหมุนเวียนกว่า 3,000 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2568 เวลา 14.30 น. พล.ต.อ.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร จเรตำรวจแห่งชาติ ( จตช. ) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( ผอ.ศตคม.ตร. ) เป็นประธานแถลงผลการจับกุมกลุ่มขบวนการค้ามนุษย์ซึ่งใช้รูปแบบแฟลตฟอร์มเว็บไซต์ออนไลน์ “ปฏิบัติการ ปิดจบสยบ Fiwfans (ฟิวแฟน) แพลตฟอร์มค้ามนุษย์เด็กออนไลน์”
Digital Forensics: ปิดจบสยบ Fiwfans (ฟิวแฟน)
Photo Credit: ปิดจ็อบ ตำรวจรวบเจ้าของ เว็บฯ Fiwfan ลอบค้าประเวณีออนไลน์ | ข่าวเด็ด 7 สี
.
ทั้งนี้ ตำรวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สั่งการเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (บก.ปคม.) เข้าช่วยเหลือเด็กหญิงอายุ 16 และ 17 ปี จำนวน 2 ราย ส่งตัวเข้ารับการคุ้มครอง โดยกลุ่มองค์กรอาชญากรรมได้ลักลอบเปิดเว็บไซต์ค้าประเวณีออนไลน์ มากว่า 4 ปี มีรายได้มากกว่า 100 ล้านบาท และมีเงินหมุนเวียนในที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี รวมมากกว่า 3,000 ล้านบาท มีหญิงที่ค้าประเวณีผ่านเว็บไซต์ประมาณ 46,000 ราย
Digital Forensics: ปิดจบสยบ Fiwfans (ฟิวแฟน)
Photo Credit: CIB ตำรวจสอบสวนกลาง
.
ปฏิบัติการดังกล่าวสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดที่เป็นแอดมินในการเปิดเว็บไซต์ฟิวแฟน ในการเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์กลางในการโฆษณาค้าประเวณี จำนวน 5 ราย โดยกลุ่มองค์กรอาชญากรรมมีพื้นฐานความรู้ด้านคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี เป็นโปรแกรมเมอร์ เคยทำธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมาก่อน จึงใช้เทคนิคในการปิดพรางซ่อนตัวตน ยากต่อการติดตามจับกุมของเจ้าหน้าที่

พบว่ากลุ่มแอดมินเว็บไซต์จะได้รับเงินที่เป็นค่าโฆษณาค้าประเวณีและค้าประเวณีเด็ก โดยใช้การเติมเงินผ่านระบบทรูมันนี่ และปกปิดซ่อนตัวตนในการตรวจสอบข้อมูล สร้างระบบให้มีการนำเลขทรูมันนี่ เข้าไปเติมเงินในเว็บไซต์ฟิวแฟน และเงินจะผ่านเข้าไปเติมในเกมออนไลน์ นอกจากนั้นยังใช้วิธีการเทคนิคทางคอมพิวเตอร์ในการอำพรางเว็บไซต์ว่าตั้งอยู่ต่างประเทศ
.
นอกจากนี้ มีการจับกุมผู้กระทำความผิดค้ามนุษย์ โดยเป็นแม่เล้าสัญชาติลาว ที่มีการนำเด็กหญิงสัญชาติลาว อายุต่ำกว่า 18 ปี มาค้ามนุษย์โดยการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี ได้รับค่าส่วนแบ่งรายได้จากการค้าประเวณีเด็กมากกว่าเดือนละ 1-2 แสนบาท ทำมามากกว่า 2 ปี โดยโพสต์โฆษณาค้าประเวณีเด็กผ่านเว็บไซต์ฟิวแฟน
.
ต่อมา พ.ต.อ.ทรงกลด เกริกกฤติยา รอง ผบก.อก.บช.ส.รรท.ผบก.ปคม. ได้สั่งการให้มีการเข้าตรวจค้นและจับกุม จำนวน 6 จุด ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีการตรวจยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง เช่น สมุดบัญชีธนาคาร เงินสด โฉนดที่ดิน รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ทองคำ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และทรัพย์สินมีค่าอื่นๆ จำนวนมาก รวมมูลค่าประมาณ 34 ล้านบาท และได้อายัดเงินในบัญชีธนาคารประมาณ 6 ล้านบาท รวมอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงินกว่า 40 ล้านบาท

Digital Forensics: ปิดจบสยบ Fiwfans (ฟิวแฟน)
Photo Credit: CIB ตำรวจสอบสวนกลาง
Digital Forensics: ปิดจบสยบ Fiwfans (ฟิวแฟน)
Photo Credit: CIB ตำรวจสอบสวนกลาง

Digital Forensics: ปิดจบสยบ Fiwfans (ฟิวแฟน)
Photo Credit: CIB ตำรวจสอบสวนกลาง


ที่มา:
 
หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูล  เผยแพร่ความรู้และให้โอกาสในการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการศึกษา   บุคคลที่สนใจโดยทั่วไป รวมถึงนักเรียน นิสิต นักศึกษา  ในการเรีบนรู้เท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WINDOWSFORENSIC #COMPUTERFORENSICS #DFIR #FORENSICS #DIGITALFORENSICS #COMPUTERFORENSIC #INVESTIGATION #CYBERCRIME #FRAUD

Digital Forensics:แนวทางการนำสืบและรับฟังพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์

Digital Forensics:แนวทางการนำสืบและรับฟังพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ ที่่มา: วิชาการ Talk เรื่อง แนวทางการนำสืบและรับฟังพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิ...