Tuesday, April 5, 2022

อบรมและสอบ เพื่อขอรับใบอนุญาต สาขานิติวิทยาศาสตร์ การตรวจพิสูจน์เทคโนโลยีสารสนเทศ

อบรมและสอบ  เพื่อขอรับใบอนุญาต สาขา นิติวิทยาศาสตร์ การตรวจพิสูจน์เทคโนโลยีสารสนเทศ

สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คุณสมบัติ

1. เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2. มีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับสาขานิติวิทยาศาสตร์

DIGITALFORENSICS

  คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต

9 ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิติวิทยาศาสตร์ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(๑) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีความรู้ในด้านนิติวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และมีประสบการณ์ในประเภทงานที่จะขอรับ

ใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 1 ปี ทั้งนี้ผลการศึกษาในแต่ละประเภทงานให้เป็นไปตามองค์ความรู้ที่คณะกรรมการกำหนด

ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่มีคุณสมบัติตามข้อ 9 (1) ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตเข้ารับการฝึกอบรมและทดสอบความรู้ตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยให้ถือว่าการฝึกอบรมและการผ่านการทดสอบความรู้เป็นผลการศึกษาในประเภทงานที่จะขอรับใบอนุญาต

COMPUTERFORENSICS


ที่มา : ร่างข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิติวิทยาศาสตร์

“นิติวิทยาศาสตร์” หมายความว่า การนำหลักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ มาใช้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกระบวนการยุติธรรม หรือเพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใด (ดัดแปลงจากพระราชบัญญัติการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2559)


“งานการตรวจพิสูจน์” หมายความว่า การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการเก็บตัวอย่าง ตรวจสอบ พิสูจน์ วิเคราะห์ เปรียบเทียบ แปลผลการตรวจ และสรุปผล

มาตรฐานการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิติวิทยาศาสตร์

ลักษณะงานของสาขานิติวิทยาศาสตร์ มีดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานสนับสนุนเกี่ยวกับการรวบรวม ตรวจสอบ พิสูจน์ ทดสอบ วิเคราะห์ เปรียบเทียบ แปลผลพยานหลักฐาน
(2) ให้ความเห็นตามหลักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพยานหลักฐาน

ข้อ 7 ประเภทงานของสาขานิติวิทยาศาสตร์ มีดังต่อไปนี้
(1) การตรวจพิสูจน์พยานเอกสารและการปลอมแปลง
(2) การตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
(3) การตรวจพิสูจน์อาวุธปืน กระสุนปืนและร่องรอยเครื่องมือ
(4) การตรวจพิสูจน์วัตถุพยานทางฟิสิกส์และวัตถุพยานขนาดเล็ก
(5) การตรวจพิสูจน์รอยเท้า รอยรองเท้า และรอยล้อรถ
(6) การตรวจพิสูจน์ร่องรอยคราบเลือด
(7) การตรวจพิสูจน์เขม่าปืน
(8) การตรวจพิสูจน์ทางพิษวิทยา
(9) การตรวจพิสูจน์น้ำมันเชื้อเพลิงและสารระเบิด
(10) การตรวจพิสูจน์ดินและสิ่งปนเปื้อนในดิน
(11) การตรวจพิสูจน์สารเสพติด
(12) การตรวจพิสูจน์ทางชีววิทยาและสารพันธุกรรมมนุษย์
(13) การตรวจพิสูจน์ทางชีววิทยาและสารพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์
(14) การตรวจพิสูจน์เทคโนโลยีสารสนเทศ
(15) การตรวจพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล
(16) การตรวจพิสูจน์เทคโนโลยีภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว

(ร่าง) ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิติวิทยาศาสตร์


Digital Forensics:วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขานิติวิทยาศาสตร์


รายงานการประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 การศึกษาหลักเกณฑ์ และมาตรฐานวิชาชีพด้านนิติวิทยาศาสตร์




#WINDOWSFORENSIC #COMPUTERFORENSICS #DFIR #FORENSICS #DIGITALFORENSICS #COMPUTERFORENSIC #INVESTIGATION #CYBERCRIME #FRAUD #วิชาชีพนิติวิทยาศาสตร์


หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น
* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

No comments:

Post a Comment

Digital Forensics:Guidance for Incident Responders

Guidance for Incident Responders  It includes the following topics: AmCache’s contribution to forensic investigations :   The AmCache regist...