Friday, September 4, 2020

Digital Forensics:มาตรฐานวิชาชีพด้านนิติวิทยาศาสตร์

Digital Forensics:วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขานิติวิทยาศาสตร์

วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขานิติวิทยาศาสตร์

การศึกษาหลักเกณฑ์และมาตรฐานวิชาชีพด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อตราเป็นพระราชกฤษฎีกาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิติวิทยาศาสตร์
       ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำ ปี 2561 สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีมติเห็นชอบเรื่องการเพิ่มสาขาวิชาชีพนิติวิทยาศาสตร์เป็นวิชาชีพควบคุมตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2551 

นิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Science) หมายถึง ศาสตร์ที่นำองค์ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ในหลากหลายแขนงมาใช้พิสูจน์ข้อเท็จจริงและยืนยันการกระทำความผิดจากพยานหลักฐานที่พบในคดีเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคดีและบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม
ลักษณะของงานนิติวิทยาศาสตร์

(1) ปฏิบัติเกี่ยวกับการรวมรวม ตรวจสอบ พิสูจน์ ทดสอบ วิเคราะห์ เปรียบเทียบ แปลผลวัตถุพยานเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ที่เป็นคดีความหรือข้อพิพาททางกฎหมาย (มีทั้งภาคสนามและห้องปฏิบัติการ)
(2) ให้ความเห็นตามหลักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ที่เป็นคดีความหรือข้อพิพาททางกฎหมาย
(3) ปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมและประกันคุณภาพในกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดให้เป็นไปตามมาตรฐาน และรวมถึงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดผลการตรวจพิสูจน์ที่มีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือมากเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการพิจารณาตัดสินคดีในชั้นศาล
ประเภทงาน

(1) งานการตรวจสถานที่เกิดเหตุและรวบรวมพยานหลักฐาน
    (1.1) การตรวจสถานที่เกิดเหตุคดีต่างๆ
    (1.2) การพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลกรณีภัยพิบัติและสูญหาย
(2) งานการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางฟิสิกส์
    (2.1) การตรวจพิสูจน์พยานเอกสารและการปลอมแปลง
    (2.2) การตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
    (2.3) การตรวจพิสูจน์อาวุธปืนและร่องรอยเครื่องมือ
    (2.4) การตรวจพิสูจน์วัตถุพยานทางฟิสิกส์และวัตถุพยานขนาดเล็ก
    (2.5) การตรวจพิสูจน์รอยเท้า รอยรองเท้า และรอยล้อรถ
    (2.6) การตรวจพิสูจน์ร่องรอยคราบเลือด
(3) งานการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางเคมี
    (3.1) การตรวจพิสูจน์เขม่าปืน
    (3.2) การตรวจพิสูจน์ทางพิษวิทยา
    (3.3) การตรวจพิสูจน์น้ำมันเชื้อเพลิงและสารระเบิด
    (3.4) การตรวจพิสูจน์ดินและสิ่งปนเปื้อนในดิน
    (3.5) การตรวจพิสูจน์สารเสพติด
(4) งานการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางชีววิทยา
    (4.1) การตรวจพิสูจน์ทางชีววิทยาและสารพันธุกรรมมนุษย์
    (4.2) การตรวจพิสูจน์ทางชีววิทยาและสารพันธุกรรมพืชป่าและสัตว์ป่า
    (4.3) การตรวจวิเคราะห์กระดูกทางนิติมานุษยวิทยา
(5) งานการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัล
    (5.1) การตรวจพิสูจน์เทคโนโลยีสารสนเทศ
    (5.2) การตรวจพิสูจน์อัตลักษณ์ของใบหน้า
    (5.3) การตรวจพิสูจน์เทคโนโลยีภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
    (5.4) การตรวจพิสูจน์เสียง
(6) งานการมาตรฐาน การจัดการวัตถุพยาน และการควบคุมและประกันคุณภาพกระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน
สถาบันการศึกษาในประเทศที่เปิดสอนสาขานิติวิทยาศาสตร์
    (1) มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
(หลักสูตรนานาชาติ)
    (2) มหาวิทยาลัยมหิดล ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
    (3) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
    (4) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บัณฑิตวิทยาลัย หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
    (5) มหาวิทยาลัยศิลปากร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์และงานยุติธรรม / หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
    (6) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์
    (7) มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
    (8) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
    (9) มหาวิทยาลัยรามคำแหง หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศนิติวิทยาศาสตร์
    (10) โรงเรียนนายร้อยตำรวจ คณะนิติวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ 
    (11) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ /หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์/ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
    (12) มหาวิทยาลัยรังสิต คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์
 

ผลดีของการควบคุมวิชาชีพนิติวิทยาศาสตร์

 (1) ทำให้มีการกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติ ความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพนิติวิทยาศาสตร์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
 
(2) มีการวางระเบียบ กฎเกณฑ์ กำกับ ควบคุม ตรวจสอบ ดูแล และกำหนดบทลงโทษผู้ไม่ประพฤติตามกรอบมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
 
(3) เกิดการพัฒนาและส่งเสริมเพิ่มระดับคุณสมบัติ ความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และจริยธรรมการประกอบวิชาชีพตามที่มาตรฐานกำหนด
 
(4) มีการให้บริการนิติวิทยาศาสตร์อย่างมีคุณภาพ ผลการตรวจพิสูจน์มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ด้วยวิธีการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีมาตรฐาน
 
(5) ผู้ประกอบวิชาชีพนิติวิทยาศาสตร์มีเกียรติและได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบวิชาชีพอื่น
 
(6) ผู้ประกอบวิชาชีพนิติวิทยาศาสตร์ในภาคเอกชนมีศักยภาพในการร่วมมือให้บริการนิติวิทยาศาสตร์กับหน่วยงานนิติวิทยาศาสตร์ภาครัฐ ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มว่าหน่วยงานนิติวิทยาศาสตร์เอกชนจะได้รับการส่งเสริมให้มีบทบาทในการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานในสาขาต่างๆ มากขึ้น เพื่อรับเหมาช่วงงานการตรวจพิสูจน์บางส่วน (Outsource) จากหน่วยงานภาครัฐเพื่อแบ่งเบาภาระงานของหน่วยงานรัฐที่มีมากขึ้นและช่วยให้การดำเนินการด้านคดีมีความรวดเร็วมากขึ้น
 
(7) ผู้รับบริการนิติวิทยาศาสตร์ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนมีทางเลือกในการใช้บริการหน่วยงานนิติวิทยาศาสตร์ทั้งในภาครัฐและเอกชนเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการดำเนินคดีและอำนวยความยุติธรรม ซึ่งรวมถึงกรณีที่เกิดความสงสัยในผลการตรวจพิสูจน์ที่รายงานโดยหน่วยงานภาครัฐ
 
(8) ผู้รับบริการนิติวิทยาศาสตร์ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนมีความเชื่อมั่นในการรับบริการงานนิติวิทยาศาสตร์
 
(9) ผู้รับบริการนิติวิทยาศาสตร์ได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์จากความเสียหายที่เกิดจากการให้บริการนิติวิทยาศาสตร์ที่ผิดมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพนิติวิทยาศาสตร์
 
(10) มาตรฐานวิชาชีพนิติวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยเท่าเทียมกับมาตรฐานวิชาชีพของนานาอารยประเทศ
 
(11) เปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบวิชาชีพนิติวิทยาศาสตร์มีช่องทางในการเข้าร่วมรับฟังข้อมูล ข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์ จากสภาวิชาชีพ
 
(12) เปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบวิชาชีพนิติวิทยาศาสตร์มีเวทีในการสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล หรือนำเสนอบทความ หรืองานวิจัย 
เมื่อวันนี้ 22 กันยายน 2563 ที่ห้องประชุม YT 711 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศ.ดร.ศุภวรรณ ตันตยานนท์ นายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นขององค์กรหรือหน่วยงานที่มีส่วนได้เสีย ครั้งที่ 1 "การศึกษาหลักเกณฑ์ และมาตรฐานวิชาชีพด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อตราเป็นพระราชกฤษฎีกาวิชาชีพวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิติวิทยาศาสตร์" เพื่อชี้แจงรายละเอียดของข้อบังคับ และรวบรวมความคิดเห็นขององค์กรหรือหน่วยงานต่างๆมาจัดทำรายงาน ทั้งนี้มีองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนิติวิทยาศาสตร์จำนวน 17 หน่วยงานที่เข้าร่วม
การศึกษาหลักเกณฑ์และมาตรฐานวิชาชีพด้านนิติวิทยาศาสตร์



อ่านเพิ่มเติม:


Ref:
เอกสาร ประชุม ปี 2563 สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Council of Science and Technology Professionals)

#WINDOWSFORENSIC #COMPUTERFORENSICS #DFIR #FORENSICS #DIGITALFORENSICS #COMPUTERFORENSIC #INVESTIGATION #CYBERCRIME #FRAUD #วิชาชีพนิติวิทยาศาสตร์


หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น
* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

No comments:

Post a Comment

Digital Forensics:Guidance for Incident Responders

Guidance for Incident Responders  It includes the following topics: AmCache’s contribution to forensic investigations :   The AmCache regist...