Digital Forensics:"ข้อมูลคอมพิวเตอร์"
"ข้อมูลคอมพิวเตอร์" ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ ไม่รวมถึง ข้อมูลที่บันทึกไว้ในสื่อที่แยกออกมาจากระบบคอมพิวเตอร์
นิยามคำว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด "บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์"...
(หมายเหตุ อาจตีความ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในคำนิยาม ".. ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้..." ได้ 2 แนวทาง 1. ต้องเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ จึงจะเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้ หรือ 2. ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ ยังสามารถถือเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้)
เช่น ข้อมูลที่ใส่แผ่น CD หรือ ใน Handy Drive แล้ว ดึงออกจากตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
การทำลายแผ่น CD หรือ ใน Handy Drive ขณะแยกออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ผิดทำให้เสียหาย ทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 9 (แต่ยังคงผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ในส่วนของตัววัสดุบันทึกข้อมูล)
"ข้อมูลคอมพิวเตอร์" ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ จึงต่างกับ พยานหลักฐานดิจิทัล พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ ที่รวมถึงข้อมูลที่บันทึกในรูปของรหัสเลขฐานสอง หรือในรูปของข้อมูลดิจิทัล ทุกกรณี
พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
มาตรา 9 = Computer Data Interference
ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ...
ที่มา:Facebook Pakorn Dharmaroj ท่านอาจารย์ ปกรณ์ ธรรมโรจน์ สำนักงานอัยการสูงสุด 8 ก.ย 2563
ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์. ปกรณ์ ธรรมโรจน์ สำนักงานอัยการสูงสุด ขออนุญาตแชร์เป็นวิทยาทาน
หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น
* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ
No comments:
Post a Comment