Saturday, October 17, 2020

DIGITAL FORENSICS:การรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน

DIGITAL FORENSICS:การรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน

หลักสูตร "กระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ"

ในเรื่องพยานหลักฐานดิจิทัลนั้น การวิเคราะห์น้ำหนักพยานหลักฐานดิจิทัลในกฎหมาย พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 11 วรรคสอง เขียนวางหลักเอาไว้ว่า การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานดิจิทัลนั้น ให้ดู 3 เรื่อง คือ 

1. ลักษณะวิธีการสร้างข้อมูล ว่าสร้างได้มาตรฐานหรือไม่ 

2. วิธีการเก็บข้อมูล ว่าระบบจัดเก็บรักษานั้นได้มาตรฐานหรือไม่ 

3. ระบบการเรียกข้อมูลออกมาใช้ ถูกต้องแม่นยำและไม่คลาดเคลื่อนกับข้อความที่บันทึกหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีหลักสากลที่กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เขียนไว้ แต่เป็นหลักสากลที่นักกฎหมายหรือ อนุญาโตตุลาการต้องเข้าใจและต้องทราบ คือ เวลาที่จะให้น้ำหนักพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นจากข้อมูลดิจิทัล จะต้องแยกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 

กลุ่มแรก ทำขึ้นโดยระบบคอมพิวเตอร์ถ้าหากเป็นข้อมูลที่จัดขึ้นโดยระบบคอมพิวเตอร์ โดยไม่มี มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น แต่เป็นเรื่องระบบเป็นผู้สร้างขึ้น ถ้าหากระบบนั้นเป็นระบบที่ได้มาตรฐาน ไม่มีความ ผิดพลาดคลาดเคลื่อนในการสร้างข้อมูล ก็จะให้น้ำหนักพยานหลักฐานนั้นเกือบเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยระบบคอมพิวเตอร์สร้างขึ้นนั้น เราเรียกว่าเป็นพยานโดยตรง ตัวอย่างเช่น พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยระบบดิจิทัลจากกล้อง CCTV ที่บันทึกไว้ ซึ่งเป็นระบบที่ฟ้องด้วยภาพ ก็จะต้อง เชื่อข้อมูลที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติจากระบบคอมพิวเตอร์มากกว่าการให้การที่ขัดแย้งของพยานบุคคล แต่ถ้าหากจะสู้คงต้องสู้ว่าภาพที่ได้จากกล้องนั้นมีการตัดต่อ เปลี่ยนแปลงภาพ ซึ่งการต่อสู้ในลักษณะนี้ จะเกิดปัญหาขึ้นเพราะหากเกิดขึ้นในชั้นศาล ศาลจะต้องส่งไปตรวจพิสูจน์ แต่ถ้าพิสูจน์แล้วผู้เชี่ยวชาญ มีความเห็นแล้ว ก็จะต้องมีพยานอื่นมาประกอบให้เห็นว่าภาพนั้นเป็นภาพแท้จริงถูกต้อง เพราะภาพ ที่เกิดขึ้นจากระบบดิจิทัลนั้นสามารถตัดต่อเปลี่ยนแปลงได้และพิสูจน์ความถูกต้องแท้จริงได้ยากมาก ๆ 


Photo: https://www.cctvbangkok.com/bangkok-cctv/

พยานเอกสารนั้นมีความสำคัญ เมื่อมีการเขียนไว้ โดยหลักแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่คนที่ เปลี่ยนแปลงก็คือคนเขียน ก็สามารถที่จะปลอมหรือเพิ่มเติมได้ จึงต้องมาวิเคราะห์ว่าเอกสารที่ทำขึ้นนั้น ถูกต้องหรือไม่ เป็นเอกสารจริงหรือเท็จ ถ้าเป็นเอกสารเท็จก็ไม่รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามหลักทั่วไป ในตอนต้น ดังนั้นพยานหลักฐานที่เป็นการบันทึกโดยระบบคอมพิวเตอร์โดยตรงนั้น มีความแม่นยำสูง และเชื่อถือได้ ยกตัวอย่างเช่น มีเหตุการณ์ที่คนร้ายใส่ชุดเสื้อสีดำ กางเกงลายพราง ใส่หมวกไหมพรมสีดำ ใช้อาวุธปืนจี้ชิงทองที่ลพบุรี และได้ใช้รถจักรยานยนต์หลบหนีไป แต่ก่อนที่จะหลบหนีนั้น ได้ยิงผู้อื่นตาย 3ศพ บาดเจ็บอีก 4 ราย ถ้าหากเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตที่ไม่มีกล้องบันทึกไว้ เราก็จะไม่สามารถจับคนร้ายได้ เพราะคนร้ายแต่งกายมิดชิด ไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นผู้ใด แต่ในเรื่องนี้มีการบันทึกจากกล้อง CCTV ไว้ ในร้านขายทองดังกล่าว และตามจุดต่าง ๆ ปรากฏว่าเมื่อนำกล้องมาเปิดดูก็เห็นว่า คนร้ายรูปร่างอย่างไร ลักษณะการเดินของคนร้ายมีอาการบาดเจ็บ และตำรวจได้ให้ความสนใจอาวุธปืนที่คนร้ายใช้ ปรากฎว่าปืน ที่ใช้นั้นเป็นอาวุธปืนขนาด 9 มม. ยี่ห้อ CZ และปลายปากกระบอกปืนติดตั้งท่อเก็บเสียง และพบว่า ท่อเก็บเสียงนั้นผลิตในประเทศไทย และตามไปสอบถามก็พบว่ามีการขายไปให้กับผู้ใด และได้ตามสืบจนพบที่มาของอาวุธปืนและรถจักรยานยนต์ที่ใช้หลบหนี และนำภาพจากกล้อง CCTV ไปติดตามจับกุม คนร้ายได้ ภาพตรงนี้จึงสามารถเชื่อถือได้

Photo: https://mgronline.com/crime/detail/9630000003573 

  โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม mgronlin


ประการที่สอง ภาพหรือข้อมูลที่อยู่ในกล้อง CCTV หรือข้อมูลที่เกิดในระบบคอมพิวเตอร์นั้น เป็นข้อมูลที่บันทึกไว้โดยบุคคล โดยหลักถือว่าข้อความที่บันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์นั้น ถ้าหากเป็นการเล่า เหตุการณ์ใดไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นพยานบอกเล่า

 

อ้างอ้งจาก:โครงการอบรมสำหรับผู้ที่จะปฎิบัติหน้าที่โตตึุลาการอนุญาโตตุลาการ ครั้งที่ 2/2563  สถาบันอนุญาโตตุลาการ  (Thai Arbitration Institute)


อ่านเพิ่มเติม:  การรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน
                   พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
                   การรับฟังพยานหลักฐานดิจิทัลในคดีอาญา
                   หลักการชั่งน้ำหนักและการรับฟังพยานหลักฐานดิจิทัลในชั้นศาล


หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WINDOWSFORENSIC #COMPUTERFORENSICS #DFIR #FORENSICS #DIGITALFORENSICS #COMPUTERFORENSIC #INVESTIGATION #CYBERCRIME #FRAUD

No comments:

Post a Comment

Digital Forensics:WhatsMyName (OSINT)

Digital Forensics:WhatsMyName (OSINT) Welcome to WhatsMyName This tool allows you to enumerate usernames across many websites How to use: 1....