Saturday, June 2, 2018

Digital Forensics: พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544

Digital Forensics: พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้รับรองสถานะหรือผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ในมาตรา 7 และมาตรา 11 เพื่อให้สามารถใช้ได้เช่นเดียวกับเอกสารกระดาษ พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ขั้นต่ำของการจัดทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในวงจรเอกสารที่สำคัญ เช่น การทำเป็นหนังสือ การลงลายมือชื่อ การเก็บรักษาหรือนำเสนอเอกสารต้นฉบับ เป็นต้น
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีตัวอย่างของคำพิพากษาที่ตัดสินคดีที่มีการนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล และศาลได้รับรองให้ใช้ได้ตามกฎหมาย ได้แก่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8089/2560 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6757/2560

นอกจากนี้ ศาลยุติธรรมได้เตรียมพร้อมสู่การเป็นศาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Court) ในหลาย ๆ เรื่อง เช่น การรองรับการยื่นและส่งคําคู่ความในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2558
ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดของพระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงติดตามข่าวสารกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น ๆ ได้ที่ https://ictlawcenter.etda.or.th

 การรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน

ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน

 ตัวอย่างการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน

ฎีกา 8089/2556

 คำพิพากษาฎีกา
ฎีกา 6757/2560


 ที่มา ETDA

 หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WindowsForensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics #computerforensic #investigation #cybercrime #fraud

No comments:

Post a Comment

Digital Forensics:WhatsMyName (OSINT)

Digital Forensics:WhatsMyName (OSINT) Welcome to WhatsMyName This tool allows you to enumerate usernames across many websites How to use: 1....