Digital Forensics:แนวปฎิบัติสำหรับผู้บัังคับกฎหมายในกรณีการล่วงละเมิดต่อเด็กในโลกออนไลน์
Guidelines for Law Enforcement Practitioners’ Response to Online Child Abuse
การล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กบนโลกออนไลน์ (Online Child Sexual Abuse)
ความผิดเกี่ยวกับการล่วงละเมิด
การสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน
หลักสำคัญเกี่ยวกับพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์
คดีการล่วงละเมิดต่อเด็กบนโลกออนไลน์นั้นอาจจำเป็นจะต้องมีพยานหลักฐานอเล็กทรอนิกส์เข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายสืบสวนและฝ่ายสอบสวนผู้ทำคดีจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเบื้องต้นว่าสิ่งใดสามารถใช้เป็นหลักฐานได้ และหลักสำคัญในการนำพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ยืนยันการกระทำผิดของคนร้าย
พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ยืนยันการกระทำผิดในที่นี้ อาจหมายความถึงข้อมูลประวัติการติดต่อสื่อสาร ข้อความแชท ไฟล์ภาพหรือวิดีโอในเครื่องคอมพิวเตอร์ เส้นทางการโพสต์ขึ้นไฟล์ (Upload) หรือรับไฟล์เข้าเครื่อง (Download) หรือข้อมูลการรับ-ส่งไฟล์ ในการล่วงละเมิดต่อเด็กบนโลกออนไลน์ เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ (เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต) อาจถูกใช้งานในลักษณะเป็นเป้าหมายของการกระทำความผิด (Computer as a target) ในฐานะเครื่องมือรับสารของตัวเหยื่อ หรือเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด (Computer as a tool) ของคนร้ายในการติดต่อสื่อสารกับเหยื่อหรือส่งต่อข้อมูลไปยังบุคคลอื่น หรือเป็นที่อยู่/ที่เก็บของพยานหลักฐานในตัวเอง (Computer as repository of evidence) ดังนั้น การเก็บรวบรวมพยานหลักฐานอาจต้องเก็บทั้งอุปกรณ์ของเหยื่อและของคนร้าย
- พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์มีความเปราะบางและสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ง่าย ในชั้นของการฟ้องคดีจึงอาจกลายเป็นข้อสงสัยของศาลหรือกลายเป็นข้อต่อสู้ของจำเลยได้ ดังนั้นในการเข้าจับกุมคนร้าย ตำรวจชุดจับกุมจะต้องระมัดระวังในการรักษาห่วงโซ่พยานหลักฐาน (Chain of Evidence) โดยรักษาพยานหลักฐานให้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงจะต้องจดบันทึกและบันทึกภาพวิดีโอไว้ทุกครั้ง
- ในคดีการล่วงละเมิดต่อเด็กในโลกออนไลน์ หากมีความจำเป็นจะต้องเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อยืนยันการกระทำผิดของคนร้าย จึงควรเป็นการทำงานร่วมระหว่างฝ่ายสืบสวนและสอบสวนในการเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ และควรมีผู้เชี่ยวชาญด้านพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมตรวจที่เกิดเหตุด้วย เพื่อให้คำแนะนำในการเก็บพยานหลักฐานต่าง ๆ ให้ถูกต้อง หรือหากมีข้อจำกัดที่ฝ่ายพิสูจน์หลักฐานไม่สามารถลงพื้นที่ได้ ก็ควรมีการประสานงานช่องทางติดต่อสื่อสารไว้เพื่อขอคำแนะนำในขณะลงพื้นที่
- อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีความเปราะบางมากกว่าพยานหลักฐานทั่วไป จะต้องจัดเก็บด้วยความระมัดระวังและเหมาะสมถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นความร้อน ความเย็นหรือคลื่นสนามแม่เหล็กก็อาจสามารถทำลายพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ได้ หรือพยานหลักฐานอาจเสียหายถูกทำลายหากแค่ทำตกเท่านั้น
- ตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านคอมพิวเตอร์นั้น ไฟล์คอมพิวเตอร์ทุกไฟล์จะมีการเก็บข้อมูลการเข้ารหัสยืนยันไฟล์ไว้ ซึ่งการเข้ารหัสยืนยันไฟล์ข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันการนำข้อมูลไปใช้ในที่ต่าง ๆ ของคนร้ายได้ แต่ข้อมูลการเข้ารหัสยืนยันไฟล์ดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงไปเพียงเพราะการปิด-เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อดูไฟล์ก็ได้ ซึ่งอาจทำให้พยานหลักฐานเสียหาย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องป้องกันผู้ไม่เกี่ยวข้องไม่ให้ปิด-เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของกลาง และอาจต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยเหลือเป็นการเฉพาะ
- ข้อมูลที่ถูกลบหรือคอมพิวเตอร์ที่ถูกทำลายก็อาจสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานได้ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ (Digital Forensic Examiners) อาจสามารถกู้คืนไฟล์พยานหลักฐานจากเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ที่ถูกไฟไหม้หรือจมน้ำได้ การเก็บพยานหลักฐานที่สำคัญทุกชิ้นไม่ว่าจะอยู่ในสภาพใด ๆ ควรให้เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบก่อนเสมอ
สิ่งที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์
พยานหลักฐานโดยทั่วไปในกรณีการตรวจที่เกิดเหตุในคดีการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กออนไลน์ มักจะสามารถพบพยานหลักฐานเข้าเหล่านี้
อ่านเพิ่มเติม:
* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ
#WindowsForensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics #computerforensic #investigation #cybercrime #fraud
No comments:
Post a Comment