DIGITAL FORENSICS:หลักฐานดิจิทัลกับเหยื่อผู้เสียหาย
- การสืบสวนความผิดทางเทคโนโลยีมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการรวบรวมพยานหลักฐาน ร่องรอยดิจิทัลของคนร้ายเป็นสิ่งที่นำไปสู่การพิสูจน์ความผิด หลักการสืบสวนภาคทฤษฎีในโรงเรียนตำรวจสอนให้รู้จักการไล่เรียงความสัมพันธ์ เร่ิมจากการพิจารณาตัวทรัพย์ไปสู่คนร้ายหรือในทางกลับกัน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคนร้ายย้อนกลับมาสู่ตัวทรัพย์สิน แต่นั่นมักจะนำไปใช้กับคดีอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์
- แต่เมื่อเป็นคดีเกี่ยวกับการล่อลองและแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ความเสียหายจะเกิดกับตัวบุคคลมากกว่าทรัพย์ เจ้าหน้าที่ต้องเปลี่ยนจากบริบทของทรัพย์ให้เป็นบุคคลที่เป็นเหยื่อแทน ร่องรอยดิจิทัลที่คนร้ายทิ้งไว้สามารถพบเจอได้สามแหล่งตามหลักวิชาการ กล่าวคือ ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง รูปแบบนี้ก็คือหลักการเบื้องต้นของการสื่อสารนั่นเอง
- ต้นทางในที่นี้คือมือถือ คอม แพลตฟอร์ม อีเมล์ หรือบริการออนไลน์ใดที่เหยื่อถูกใช้ปฏิสัมพันธ์โดยคนร้าย ส่วนกลางทาง และปลายทาง คือผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของคนร้าย ซึ่งจะถูกนำไปกล่าวในโอกาสถัดไป
- ในยุคดิจิทัลเหยื่อต้องเรียนรู้ที่จะรับมือกับภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ การบันทึกภาพหน้าจอ Capture หรือ Print screen ล้วนเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ถัดมาอีกขั้นหนึ่งคือการบันทึกวิดีโอ Screen recording วิธีที่สองถือว่าเป็นการเก็บหลักฐานที่สมบูรณ์มากทีเดียว ภาพวิดีโอหน้าจอที่ถูกบันทึกไว้สามารถช่วยอธิบายพฤติการณ์ของคนร้ายที่มีปฏิสัมพันธ์กับเหยื่อในขณะก่อเหตุได้อย่างเข้าใจ
- การจดบันทึกลงบนกระดาษหรือ Note taking เป็นสิ่งที่ยังต้องมีไว้ แม้จะดูเป็นวิธีโบราณ แต่ช่วยลดความเสี่ยงในการลืม รวมทั้งป้องกันการสูญหายของไฟล์ภาพหรือวิดีโอ แล้วอะไรล่ะที่ควรจด "ห้า" รายการแรกที่ต้องมีไว้ในบันทึก คือ ชื่อโปรไฟล์คนร้าย เลขไอดีบัญชีโซเชียลของคนร้าย หมายเลขโทรศัพท์หรืออีเมล์ที่ใช้ติดต่อ ชื่อเว็บไซต์/แพลตฟอร์มโซเชียล/แอพพลิเคชั่น และวันเวลาที่เหตุเกิดขึ้น
.
ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงส่วนสำคัญในการรับมือกับภัยล่อลวงผ่านการคุกคามออนไลน์ หากใครกำลังคิดว่าตกเป็นเหยื่อไม่ว่าจะเป็นความเสียหายรูปแบบใด ขอแบบเป็นการเกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ต พวกเขาก็สามารถประยุกต์ใช้ตามคำแนะนำข้างต้นได้เสมอ
.
ภาพนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากคู่มือฮัก Hug handbook ผลิตโดย The HUG Project Thailand ใครสนใจลองไปอ่านต่อบนบราวเซอร์เพื่อรับประสบกาณ์แบบ 3D Filped book หรือโหลดมาเก็บไว้ที่มือถือก็ได้ แค่ไปที่ https://www.hugproject.org/th/hughandbook/
ขั้นตอนการตรวจสอบพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัล ( DIGITAL FORENSICS )เป็นอย่างไร
ที่มา: @sureandshare
FB: TICAC-Thailand Internet Crimes Against Children ชุดปฏิบัติการปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต
หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น
* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ
#WindowsForensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics #computerforensic #investigation #cybercrime #fraud
No comments:
Post a Comment