Wednesday, December 25, 2013

Digital Forensics: Cybercrime

Digital Forensics:อาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

อาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ

ปัจจุบันปัญหาอาชญากรรมได้เกิดขึ้นหลายรูปแบบ มีการขยายตัวเป็นวงกว้างและสลับซับซ้อน มีการนำเทคโนโลยีและการสื่อสารต่าง ๆ เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดรวมทั้งมีแนวโน้มที่บุคคลต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการกระทำความผิดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เป็นภัยต่อความมั่นคงและระบบเศรษฐกิจของประเทศ
อาชญากรรม(ทาง)คอมพิวเตอร์ หรือ อาชญากรรมไซเบอร์ หมายถึงอาชญากรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ [1] อาชญากรรม(บน)อินเทอร์เน็ต ก็เป็นอีกคำหนึ่งซึ่งหมายถึงการแสวงหาผลประโยชน์อย่างผิดกฎหมายบนอินเทอร์เน็ต [2] คอมพิวเตอร์นั้นอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือก่ออาชญากรรม หรืออาจตกเป็นเป้าหมายของการกระทำก็ได้ [3] Dr. Debarati Halder และ Dr. K. Jaishankar ได้นิยามอาชญากรรมไซเบอร์ไว้ว่าเป็น "ความผิดที่กระทำขึ้นต่อปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มของปัจเจกบุคคล ด้วยเหตุจูงใจทางอาญา ที่เจตนาทำให้เหยื่อเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือทำร้ายร่างกายหรือจิตใจของเหยื่อ โดยทางตรงหรือทางอ้อม โดยใช้เครือข่ายโทรคมนาคมสมัยใหม่ อาทิ อินเทอร์เน็ต (ห้องแช็ต อีเมล กระดานประกาศ และกลุ่มข่าว) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ (เอสเอ็มเอส/เอ็มเอ็มเอส)" [4] อาชญากรรมเช่นนั้นอาจคุกคามความมั่นคงและสภาวะทางการคลังของรัฐ [5] ปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมชนิดนี้ได้กลายมาเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเจาะระบบเครือข่าย การละเมิดลิขสิทธิ์ สื่อลามกอนาจารเด็ก และการล่อลวงเด็ก นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัวเมื่อสารสนเทศที่เป็นความลับถูกสกัดกั้นหรือถูกเปิดเผย โดยทางกฎหมายหรือไม่ก็ตาม  
ทีมา: th.wikipedia

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง     การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น   ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้ หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วยสำหรับอาชญากรรมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (เช่น อินเทอร์เน็ต) อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งคือ
อาชญากรรมไซเบอร์ (อังกฤษ: Cybercrime) อาชญากรที่ก่ออาชญากรรมประเภทนี้ มักถูกเรียกว่า แครกเกอร์

       1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือและในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกันการประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบ หนึ่งที่มีความสำคัญ
ทีมา: dek-d



ฉ้อโกงออนไลน์

ฉ้อโกงออนไลน์ แจ้งความที่ไหน
ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ค้ามนุษย์
ROMANCE SCAM

พนันออนไลน์
ที่มา:
tactics

อาชญากรรม 8 ประเภท ที่พบบ่อยบนอินเทอร์เน็ต

อาชญากรรม  ที่พบบ่อยบนอินเทอร์เน็ต

1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ รวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเท
อร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – การเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ – การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
และการเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย
6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชน
จำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ
7. การหลอกค้าขายลงทุนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น การประกาศโฆษณา การชักชวนให้เข้าร่วมลงทุน
8. การแทรกแซงข้อมูลโดยมิชอบ โดยการนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาเป็นประโยชน์ต่อตน
หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

ที่มา

tcsd

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WindowsForensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics  #computerforensic #investigation #cybercrime #fraud 

No comments:

Post a Comment

Digital Forensics:CDIC2024

Digital Forensics:CDIC2024    งานสัมมนาประจำปีด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์  27-28 พฤศจิกายน 2567 ณ Grand Hall ไบเทค บางนา วันนี้แอดแวะมางาน ...