รอบรู้เรื่อง Digital Forensic พร้อมการรับมือกับ Advanced Threat และ Social Media
Computer Forensics
คือการเก็บหลักฐาน,การค้นหา,วิเคราะห์และการนำเสนอหลักฐานทางดิจิทัลที่อยู่ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์เช่นไฟล์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์,อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์,โทรศัพท์มือถือรวมถึงหลักฐานดิจิทัลที่ถูกสร้างจากระบบคอมพิวเตอร์เป็นต้น ด้วยกระบวนการที่น่าเชื่อถือเพื่อให้สามารถนำข้อเท็จจริงจากการวิเคราะห์หลักฐานนาไปใช้เป็นหลักฐานที่ศาลยอมรับฟังได้ โดยหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง และมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนาไปใช้ระบุผู้กระทำผิดจนถึงเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีได้
- Problems & Challenge
- กระบวนการจัดการพยานหลักฐาน
- ระบุ
1. ระบุ
1 ฐานความผิด - องค์ประกอบความผิด
2 ข้อสันนิษฐาน
3 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้อง
4 ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้อง
5 ประเภทความสัมพันธ์
- ทางตรง
- ทางอ้อม เช่น แรงจูงใจ, ความสัมพันธ์, ประโยชน์
- การพิสูจน์ตัวตน
2. สิ่งที่คุณรู้ Something you know
3. สิ่งที่คุณเป็น Something you are
- กระบวนการจัดการพยานหลักฐาน
1. อำนาจหน้าที่บุคคลที่จะเข้าถึง
2. ห่วงโซ่พยานหลักฐาน
3. ป้องกันการเปลี่ยนแปลง
- การเข้าถึงทางเครือข่าย
- ประเภทข้อมูลคอมพิวเตอร์ (Volatile Data)
- ชนิดสื่อบันทึกข้อมูล/อุปกรณ์
- สถานการณ์ เช่น ข้อมูลกำลังถูกลบ
- จัดเก็บ
1.ทักษะ / ความรู้
2. เครื่องมือ / อุปกรณ์
3. วิธีกการปฏิบัติ
- ประเภทอุปกรณ์ / ระบบปฏิบัติการ
- อื่น ๆ เช่น การเก็บภาพที่กำลัง Live สด, FB post
4. การบรรจุหีบห่อ
- พยานหลักฐานที่บุคคลภายนอก
- วิเคราะห์
1. ตั้งประเด็นการตรวจพิสูจน์ตามรูปคดี
2. กระบวนการตรวจ
- เครื่องมือ
- วิธีการ / หลักวิชาการ
3. ออกรายงาน
- ข้อเท็จจริง
- ความเห็น
- หลักการรักษาความน่าเชื่อถือ
- พยานหลักฐานดิจิทัล คือ อะไร
- พยานหลักฐำนดิจิทัล หมายถึง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์
- ประเภทพยานหลักฐานดิจิทัล
- แบ่งตามสื่อบันทึกข้อมูล
- แบ่งตามการะบวนการสื่่อสาร
- แบ่งตามการเข้ารหัส
- แบ่งตามชนิดอุปกรณ์
- กระบวนการเกิดพยานหลักฐาน
- การปฎิบัติงาน
- ขั้นตอนการปฎิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจพิสูจน์
ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจพิสูจน์
1. รับอุปกรณ์/วัตถุพยานหลักฐานที่ต้องการตรวจพิสูจน์ พร้อมหนังสือนำส่งจากหน่วยงาน/ถ่ายภาพก่อนแกะวัตถุพยานหลักฐาน
2. ถ่ายภาพทั้งด้านหน้าและด้านหลังอุปกรณ์/วัตถุพยานหลักฐาน
3. บันทึกลงในระบบตรวจพิสูจน์หลักฐาน
4. ส่งเจ้าหน้าที่ห้องตรวจพิสูจน์หลักฐาน (Forensic) เพื่อตรวจและจัดเก็บรอดำเนินการ
5. พิจารณาว่าอุปกรณ์/วัตถุพยานหลักฐาน เป็นแบบใด และเลือกอุปกรณ์ให้ถูกต้อง
6. เมื่อตรวจพิสูจน์เรียบร้อย จัดทำรายงานผล
7. ประหน่วยงานเจ้าของเรื่องรับผลตรวจและรับของกลางคืน
8. คืนของกลางและผลตรวจให้กับหน่วยงานเจ้าของเรื่องตรวจสอบอุปกรณ์/วัตถุพยานหลักฐานให้ตรงกับที่นำส่ง เซ็นรับผลตรวจและของกลางพร้อมสำเนาบัตรเจ้าหน้าที่ที่มารับคืน
มาตรฐานของเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์
1. กำหนดได้ (Definable)
กระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานใดๆ
จะต้องกำหนดผลลัพธ์จากวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ เพื่ออธิบายกระบวนการ
และรับรองความถูกต้องของกระบวนการ
2.คาดการณ์ได้ (Predictable) เครื่องมือจะต้องสามารถคาดการณ์ได้ หากเครื่องมือไม่สามารถให้ผลลัพธ์ที่คาดการณ์ได้ก็เท่ากับว่าขาดความสมบูรณ์ ตามหลักการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานและไม่สามารถนำมาใช้งานได้
3. ทำซ้ำได้ (Repeatable)
การทำงานจะต้องทำซ้ำได้ภายในขอบเขดความผิดพลาดที่เป็นที่ยอมรับ
4. ตรวจสอบได้ (Verifiable)
หนึ่งในหลักเกณฑ์ที่สาคัญที่สุดสาหรับเครื่องมือ ในการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานคือความสามารถในการตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องมือ ไม่เพียงแต่ภายในสภาพแวดล้อมเฉพาะของการทดสอบเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเครื่องมืออื่นๆ ในประเภทเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ตรวจสอบคนหนึ่งในคดีใช้ซอฟต์แวร์การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานแบบ EnCase และผู้ตรวจสอบอีกคนหนึ่งใช้ชุดเครื่องมือซอฟต์แวร์การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานแบบ Forensic Tool Kit พวกเขาทั้งสองจะพบผลลัพธ์เดียวกัน
- การวิเคราะห์พยานหลักฐาน
- รายละเอียดของพยานหลักฐาน
- การตั้งประเด็นคำถามการจตรวจพิสูจน์
- ประเภทของประเด็นคำถาม
- การตอบประเด็นคำถามของผู้ตรวจพิสูจน์
อ่านเพิ่มเติม:
- Digital Evidence : หลักฐานดิจิทัล
- Forensics Investigation Report
- หลักสูตร EC-Council Security Specialist (ECSS)
- ข้อเสนอแนะมาตรฐานการจัดการอุปกรณ์ดิจิทัลในงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน
Reference : Thailand National Cyber Academy (THNCA) by NCSA
ข้อมูลจาก การอบรม NCSA Cybersecurity Knowledge Sharing ครั้งที่ 4/2567 หัวข้อ รอบรู้เรื่อง Digital Forensic พร้อมการรับมือกับ Advanced Threat และ Social Media โดย สำนักวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สกมช. ร่วมกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
ขอขอบคุณวิทยากร ท่าน พ.ต.ต วีระพงษ์ แนวคำดี สว. กลุ่มงานป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ท่ี่ได้นำความรู้และประสบการณ์มาให้ความรู้ในงานนี้ด้วยครับ และขอนำข้อมูลมาเผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่อไป
หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น ช่วยเตือนความจำ
* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ