Monday, October 3, 2022

DIGITAL FORENSICS:หลักสูตรอบรมเตรียมพร้อมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ

DIGITAL FORENSICS:หลักสูตรอบรมเตรียมพร้อมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ

พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ไซเบอร์


ตามประกาศคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เรื่อง กำหนดระดับความรู้ความชำนาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพื่อแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ 2565 ประกาศ ณ วันที่ 19 พ.ย
. 2564 ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 จะต้องผ่านการอบรมฯหลักสูตรต่าง ๆ แล้วแต่กรณี นั้น จึงทำให้เกิดการจัดโครงการอบรมหลักสูตรเร่งรัดเพื่อแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 หลักสูตรเร่งรัด (Intensive Courses) ระยะเวลารวม  5 วัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดอบรมให้กับบุคคลซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรณีพิเศษ ซึ่งได้รับการยกเว้นตามหลักเกณฑ์ในการกำหนดคุณสมบัติเป็นพนักงานทั่วไป ให้สามารถบริหารจัดการภัยคุกคามไซเบอร์เบื้องต้นได้

พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ไซเบอร์
รูปจาก SIAMRATH


สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) จัดการอบรม “หลักสูตรเร่งรัดเพื่อแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562” เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ประสานงาน ในการจัดการกับเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยการพิจารณาผู้มีความรู้ความชำนาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มาอบรม และคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ การอบรมดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 21 และ 27 ก.ย.65 ในรูปแบบออนไลน์ และวันที่ 28 ก.ย.65 ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ 6โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ โดยได้รับเกียรติจากพลเอก ดร.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติเป็นประธานในพิธีปิดการอบรมและมอบเสื้อให้แก่ผู้เข้าร่วมการอบรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สกมช.

ด้านการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล (Digital Forensics)
รูปจาก SIAMRATH


โดยเนื้อหาในการอบรมประกอบด้วย ด้านการสืบสวนสอบสวน ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security) ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security) ด้านการบริหารจัดการเหตุภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Incident Handling) ด้านการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล (Digital Forensics) รวมไปถึงเรื่องจริยธรรมต่าง ๆ ที่พึงมี ทั้งนี้ผู้ที่ผ่านการพิจารณา จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามกฎหมาย และมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการสนับสนุน ช่วยเหลือแก่หน่วยงานที่มีความสำคัญต่าง ๆ เมื่อเกิดเหตุภัยคุกคามทางไซเบอร์ขึ้น อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถ ในการป้องกันระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศของประเทศต่อไป

พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 

    (๑) มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 

             (๑.๑) รับราชการ หรือเคยรับราชการ หรือเป็นบุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวน หรือวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst ) ไม่น้อยกว่า ๒ (สอง) ปี ในต าแหน่งที่เกี่ยวข้องกับ ด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security ) ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security ) ด้านการบริหารจัดการเหตุภัยคุกคามไซเบอร์ (Incident Handling ) หรือ ด้านการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล (Digital Forensics ) หรือ

            (๑.๒) สำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่าระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าทางวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ สถิติศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ดังต่อไปนี

                        ก. สำร็จการศึกษาตาม (๑.๒) ในระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าและมีประสบการณ์ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒ นับแต่ส าเร็จการศึกษาดังกล่าวไม่น้อยกว่า ๔ (สี่) ปี 

                        ข. สำเร็จการศึกษาตาม (๑.๒) ในระดับปริญญาโทและมีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ ต่อการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒ นับแต่ส าเร็จ การศึกษาดังกล่าวไม่น้อยกว่า ๓ (สาม) ปี 

                        ค. สำเร็จการศึกษาตาม (๑.๒) ในระดับปริญญาเอกและมีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ ต่อการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒ นับแต่ส าเร็จ การศึกษาดังกล่าวไม่น้อยกว่า ๒ (สอง) ปี 

          (๒) มีความรู้ความชำนาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 

        (๓) ผ่านการอบรมด้านจริยธรรม สืบสวน สอบสวน ความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (Information Security ) การบริหารจัดการเหตุภัยคุกคามไซเบอร์ (Incident Handling ) หรือ การพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล (Digital Forensics ) ตามภาคผนวกท้ายประกาศนี้ 

        ข้อ ๕ ในกรณีที่มีเหตุผลความจ าเป็น รัฐมนตรีอาจยกเว้นคุณสมบัติตามข้อ ๔ ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ ทั้งนี้ ในการยกเว้นคุณสมบัติดังกล่าว ให้ส านักงานแสดงเหตุผลความจ าเป็นเสนอรัฐมนตรี เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลใดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการเฉพาะก็ได้ ทั้งนี้ บุคคลที่ได้รับการยกเว้นคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรเร่งรัด (Intensive Courses ) ตามภาคผนวกท้ายประกาศนี้ด้วย 

        ข้อ ๖ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีสัญชาติไทยและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ 

        (๑) เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต 

        (๒) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ 

        (๓) เคยต้องค าพิพากษาถึงที่สุดให้จ าคุกไม่ว่าจะได้รับโทษจ าคุกจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นโทษ สำหรับความผิดที่ได้กระท าโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ 

        (๔) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หรือออกจากงานจากหน่วยงาน ที่เคยปฏิบัติหน้าที่เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง 

        (๕) เคยถูกถอดถอนออกจากต าแหน่งตามกฎหมาย 

        (๖) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือ ผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ ของพรรคการเมือง ข้อ ๗ การแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้แต่งตั้งจากบุคคล ซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๔ หรือข้อ ๕ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๖ 

        ข้อ ๗ การแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้แต่งตั้งจากบุคคล ซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๔ หรือข้อ ๕ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๖ หนา ๒๒ ้ ่ เลม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ การแต่งตั้งบุคคลใดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ด ารงต าแหน่ง คราวละ ๔ (สี่) ปี การแต่งตั้งและการพ้นจากต าแหน่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๘ พนักงานเจ้าหน้าที่พ้นจากต าแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๖ (๔) คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติมีมติให้ออกเพราะบกพร่อง หรือทุจริตต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย (๕) ครบวาระการดำรงตำแหน่ง 

ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒ จะต้องผ่านการอบรมด้านจริยธรรม สืบสวน สอบสวน ที่เกี่ยวข้องกับ ด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security) ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์(Cyber Security) ด้านการบริหารจัดการเหตุภัยคุกคามไซเบอร์ (Incident Handling) หรือด้านการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล (Digital Forensics) แล้วแต่กรณีดังต่อไปนี้

ด้านการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล (Digital Forensics)
ด้านการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล (Digital Forensics)

ด้านการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล (Digital Forensics)

ที่มา:siamrath

        dailynews

       เรื่อง การกำหนดระดับความรู้ความชำนาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพื่อแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่

โครงการอบรมหลักสูตรเร่งรัดเพื่อแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562

หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WindowsForensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics #computerforensic #investigation #cybercrime #fraud

No comments:

Post a Comment

เจาะลึก 14 Certifications ด้าน Cybersecurity

เจาะลึก 14 Certifications ด้าน Cybersecurity เจาะลึก 14 Certifications ด้าน Cybersecurity ที่น่าสนใจ! แชร์มุมมองส่วนตัวเกี่ยวกับ certificati...