Digital Forensics:การสืบหลักฐานทางดิจิทัล คดีละเมิดทางเพศเด็กออนไลน์
โครงการการพัฒนาระบบการวิเคราะห์พยานหลักฐานทางดิจิทัลในคดีละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบัน การละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต เป็นปัญหาอาชญากรรมร้ายแรงที่กระทบต่อเด็กและเยาวชนของชาติอย่างมาก และยังมีความสัมพันธ์กับปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีด้านดิจิทัลอย่างรวดเร็วของโลก ทำให้ผู้กระทำความผิดมีช่องทางและโอกาสในการเข้าถึงผู้เสียหายมากขึ้น โดยเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ก็จะตกเป็นเหยื่อได้ง่ายมากกว่ากลุ่มอื่น ทำให้เกิดคดีละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น และเมื่อสื่อลามกของเด็กที่เป็นเหยื่อหลุดเข้าไปสู่ระบบอินเทอร์เน็ต จะไม่สามารถเอาออกได้ตลอดไป ส่งผลให้ผู้เสียหายถูกกระทำซ้ำๆ (Complex Trauma) จะส่งผลกระทบต่อจิตใจและอนาคตของเด็กและเยาวชนอย่างมาก จนกลายเป็นปัญหาสังคมในที่สุด
จากสถิติที่รวบรวมโดยคณะทำงานปราบปรามการละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า มีการจับกุมผู้กระทำผิดเฉพาะที่มีการล่วงละเมิดทางเพศเด็กออนไลน์และเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ด้วย มีมากกว่า 60 คดี รวมทั้งพบสื่อลามกของเด็ก ที่น่าเชื่อว่าเป็นเด็กไทยมากกว่า 5,000 คน โดยอายุของเด็กผู้เสียหายที่มีอายุน้อยที่สุดคือ 3 ขวบ
ด้วยเหตุนี้ โครงการการพัฒนาระบบการวิเคราะห์พยานหลักฐานทางดิจิทัลในคดีละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนเพื่อการวิจัย ตามมาตรา 26 (2) จากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประจำปีงบประมาณ 2563 ครั้งที่ 1 พิจารณาอนุมัติทุนตามกรอบนโยบายด้าน Government Technology เพื่อมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนการให้บริการภาครัฐ สนับสนุนการบูรณาการการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน การใช้ทรัพยากรร่วมกัน อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการติดต่อภาครัฐ ยกระดับการทำงานของภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ที่มีความมั่นคงปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยในโครงการนี้มีมุ่งเน้นเพื่อพัฒนาระบบการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัล สำหรับคดีละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยเน้นพยานหลักฐานที่เป็นสื่อลามกเด็กและเยาวชนเป็นหลัก โดยระบบจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
1.ระบบการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัล ที่สามารถเข้าถึงข้อมูล ดึงข้อมูล และคัดแยก ข้อมูลจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
2.ระบบวิเคราะห์พยานหลักฐานทางดิจิทัล ที่สามารถรองรับข้อมูลจากเครื่องมือการตรวจพิสูจน์ พยานหลักฐานทางดิจิทัลได้หลากหลายระบบทั้งในส่วนของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ รวมถึงการใช้ เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าหรือเทคโนโลยีปัญหาประดิษฐ์อย่างอื่นที่มีประสิทธิภาพดีกว่า
4.ระบบกลางสำหรับการบริหารจัดการพยานหลักฐานทางดิจิทัล โดยเน้นการบริการจัดการกับ ข้อมูลทุกส่วนจากสื่อลามกอนาจารทั้งที่เป็นรูปภาพและวีดิโอ ที่ได้จากจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
ทั้งนี้ ผลสัมฤทธิ์ของงานวิจัยในโครงการ ช่วยให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ มีความพร้อมด้านเครื่องมือ อุปกรณ์และระบบที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานปราบปราบการละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ตในการวิเคราะห์และตรวจวัตถุพยานที่เป็นหลักฐานทางดิจิทัล มีระบบกลางสำหรับบริหารจัดการพยานหลักฐานที่มีความรวดเร็ว ทันสมัย และมีประสิทธิภาพในการดำเนินคดี ทำให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบของตัวเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ในอนาคต เนื่องจากกว่า 80% ของคดีจะต้องมีพยานหลักฐานทางดิจิทัลเข้าไปเกี่ยวข้องเสมอ ส่งผลให้สามารถตอบสนองต่อการดำเนินคดีได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ พร้อมกันนี้ รัฐบาลสามารถใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบาย และเป็นผลการปฏิบัติงานด้านการค้ามนุษย์ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศไทย (Thailand TIP Report) ได้เป็นอย่างดี
ในส่วนของการสนับสนุนของกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ถือเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมทรัพยากรด้านดิจิทัลเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ตของประเทศ พัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน ลดภาระและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ลดอัตราการเกิดอาชญากรรมในคดีละเมิดทางเพศเด็ก ช่วยสร้างสังคมที่ปลอดภัยเพื่ออนาคตที่สดใสของเด็กและเยาวชนของชาติ เพื่อการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า มั่นคง และยั่งยืน
* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ
#WindowsForensic #computerforensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics #investigation #cybercrime #fraud #กระบวนการพิสูจน์หลักฐานทางด้านดิจิทัล
No comments:
Post a Comment