Saturday, November 27, 2021

CCTV Forensics Tools

CCTV Forensics Tools

วันนี้จะมาแนะนำเครื่องมือที่ใช้สำหรับการทำ CCTV Forensics  ชื่อว่า DVR Examiner

CCTV คือ ระบบการบันทึกภาพเคลื่อนไหวที่ถูกจับภาพโดยกล้องวงจรปิด ซึ่งได้ติดตั้ง ตามสถานที่ต่างๆ มายังส่วนรับภาพซึ่งเรียกว่า จอภาพ (Monitor) เป็นระบบส�ำหรับใช้เพื่อรักษา ความปลอดภัยหรือเพื่อการสอดส่องดูแลเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ

การเข้าดำเนินการกับหลักฐาน ณ สถานที่เกิดเหตุ ซึ่งการที่หลักฐานที่ได้มาจากสถานที่เกิดเหตุ ทำการถ่ายรูป สถานพบหลักฐาน CCTV  ตรวจสอบสถานะของเครื่องCCTV ว่าเปิดอยู่หรือปิดอยู่ 
 การถ่ายภาพควรถ่ายให้เห็นภาพรวม จุดเชื่อมต่อ และรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ยึดทั้งหมด 

บันทึกรายละเอียด ยี่ห้อ รุ่น CCTV และ ขนาดของฮาร์ดดิสก์ควรถ่ายภาพภายนอกของอุปกรณ์ และหมายเลขเครื่อง (SN) จดบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ยี่ห้อ ความจุ และหมายเลขอื่น ๆ ที่ปรากฏ และหยิบจับอุปกรณ์ด้วยความระมัดระวังเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความเสียหายได้ง่าย 

ถอดสายที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด และควรบันทึกการเชื่อมต่อสายต่าง  ๆ ข้างต้นไว้ด้วย

การบรรจุและการเคลื่อนย้าย

ในการดำเนินการควรระบุรายละเอียดใน Chain of custody  โดยบันทึกข้อมูลให้ครบถ้วน เก็บหลักฐานและจดรายละเอียดของหลักฐานในแบบฟอร์มกลับมาที่ Forensics Lab  

การนำส่งต้องบรรจุใส่กล่องกระดาษหรือห่อกระดาษแบบมีวัสดุกันกระแทก ก่อนปิดผนึกให้เรียบร้อยพร้อมทั้ง เซ็นชื่อกำกับ แล้วจึงนำส่งตรวจพิสูจน์


ทำสำเนาหลักฐาน ผ่านอุปกรณ์ Write blocker 
เมือทำการเปิดด้วยโปรแกรม AccessData® FTK® Imager 4.5.0.3   จะพบว่า unallocated space
ทำสำเนาหลักฐานโดยโปรแกรม AccessData® FTK® Imager 4.5.0.3  บันทึกเป็น DD file
เครื่องมือที่ใช้สำหรับการทำ CCTV Forensics  ชื่อว่า DVR Examiner
Detect and Scan Image File  เปิดไฟล์ CCTV.001
เปิดไฟล์ CCTV.001
เลือก CH และวันเวลาที่เกิดเหต  และ Export

Preview Clip


ใส่ Option  information  ,Name ,Case Number ,Model , 
Report

How to Use the DVR Examiner



การเก็บหลักฐานจากอุปกรณ์บันทึก CCTV  ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ CCTV เนื่องจากหากผิดพลาดอาจทำให้ข้อมูลหลักฐานเสียหาย

พยานหลักฐานกล้องวงจรปิด

ข้อมูลภาพวีดิทัศน์ที่ถูกประมวลผลออกมาในครั้งแรก ถือเป็นต้นฉบับ ของพยานเอกสาร แต่เมื่อมีการบันทึกข้อมูลของภาพวีดิทัศน์ (CCTV) ออกมาจากหน่วยความจำ ในเครื่องบันทึกข้อมูลภาพวีดิทัศน์ในครั้งแรก หากโดยบันทึกภาพวีดิทัศน์ลงใน แผ่นซีดี แผ่น ดีวีดี ตัวบันทึกข้อมูล (Flash drive) การ์ดความจำ (Memory Cards) ฯลฯ ไม่ถือว่าเป็นต้นฉบับ พยานเอกสาร ปัญหาต่อมาคือ เมื่อสิ่งเหล่านั้นที่ไม่ใช่ต้นฉบับเอกสารจะถือให้รับฟังแบบสำเนา เอกสารสามารถอ้างเป็นพยานได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 ได้กำหนดไว้ว่า ต้นฉบับเอกสารเท่านั้นที่อ้างเป็นพยานได้ แต่ในกรณีที่หาต้นฉบับไม่ได้ สามารถใช้สำเนาที่รับรองว่าถูกต้องหรือพยานบุคคลที่รู้ข้อความอ้างเป็นพยานได้ ดังนั้น เมื่อมี การบันทึกข้อมูลของภาพวีดิทัศน์ (CCTV) ออกมาจากหน่วยความจำในเครื่องบันทึกข้อมูลภาพ และเสียงจากวีดิทัศน์ในครั้งแรก โดยบันทึกภาพและเสียงจากวีดิทัศน์ลงใน แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี ตัวบันทึกข้อมูล (Flash drive) การ์ดความจำ (Memory Cards) ฯลฯ และได้มีการพิมพ์ข้อมูล จากอุปกรณ์เหล่านี้ลงกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ก็สามารถอ้างเป็นพยานได้ เพราะมีลักษณะเป็น สำเนาเอกสาร46

พยานหลักฐานประเภทวีดิทัศน์ ซึ่งเกิดจากกล้องวงจรปิด ถือเป็นพยาน หลักฐานที่สามารถพิสูจน์แสดงข้อเท็จจริงให้ศาลพิจารณาได้ แต่หากพยานหลักฐานใดก็ตามที่ เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานนั้น และต้องห้ามโจทก์และจำเลยนำพยานหลักฐานที่มีลักษณะเป็นพยานหลักฐานดังกล่าวเข้ามานำสืบ หรือ เข้ามาในกระบวนการพิจารณาคดีเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 เว้นแต่กรณีที่การรับฟังพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่า ผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาหรือสิทธิเสรีภาพ พื้นฐานของประชาชน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/1

กล้องวงจรปิด จะมีความสำคัญมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าภาพจากกล้องนั้น นำเสนออะไรเป็นพยานตรงหรือพยานแวดล้อมและขั้นตอนวิธีการเก็บ ดูแลรักษา ส่งต่อ วิเคราะห์ ถูกต้องหรือไม่และการได้มา ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ปัญหาการพิสูจน์และการรับฟัง พยานหลักฐานประเภทวีดิทัศน์ จากกล้องวงจรปิดในคดีอาญา :วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ 13 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2563

หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น ช่วยเตือนความจำ

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WINDOWSFORENSIC #COMPUTERFORENSICS #DFIR #FORENSICS #DIGITALFORENSICS #COMPUTERFORENSIC #INVESTIGATION #CYBERCRIME #FRAUD 


No comments:

Post a Comment

เจาะลึก 14 Certifications ด้าน Cybersecurity

เจาะลึก 14 Certifications ด้าน Cybersecurity เจาะลึก 14 Certifications ด้าน Cybersecurity ที่น่าสนใจ! แชร์มุมมองส่วนตัวเกี่ยวกับ certificati...