Wednesday, September 22, 2021

Digital Forensics:กระบวนการนิติวิทยาศาสตร์ทางดิจิทัล

Digital Forensics:กระบวนการนิติวิทยาศาสตร์ทางดิจิทัล

 

    กระบวนการนิติวิทยาศาสตร์ทางดิจิทัล เป็นที่สนใจมากขึ้น เหตุจากช่วงที่ผ่านมามีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นกับระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบเครือข่ายของหน่วยงาน องค์กรทางภาครัฐและเอกชน

 

บทความโดย... รศ.ดร.พงษ์พิสิฐ วุฒิดิษฐโชติ และ เกียรติศักดิ์ จันทร์ลอย 
ภาควิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ปัญหาเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เกิดขึ้น เช่น ระบบโครงสร้างพื้นฐานหยุดทำงานจากการถูกการโจมตี หรือเหตุการณ์ข้อมูลสารสนเทศสำคัญทางการแพทย์รั่วไหล รวมถึงการที่ข้อมูลลูกค้าของภาคธุรกิจการถูกจารกรรม 

จากเหตุการณ์ที่เกิด ย่อมทำให้หน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจมีความกังวลและมีความตื่นตัวเกิดขึ้น โดยการเตรียมแผน (Plan) นโยบาย (Policy) กระบวนการ (Process) การให้ความรู้ (Awareness) รวมถึงเทคโนโลยี (Technology) ต่าง ๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการรับมือและตอบสนองต่อเหตุการณ์ผิดปกติ ภัยคุกคามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น 


    ที่ผ่านมาทุกส่วนงานต่าง ๆ มุ่งเน้นกระบวนการทางด้านการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น สำหรับบริหารความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งนอกจากกระบวนการในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ (Incident Response) แล้ว ยังมีอีกหนึ่งกระบวนการที่สำคัญซึ่งโดยทั่วไปเรียกว่า “กระบวนการพิสูจน์หลักฐานทางด้านดิจิทัล” (Digital Forensics Investigation) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับหาตัวผู้กระทำความผิดหรือใช้สำหรับเก็บรวมรวบ ข้อมูล หลักฐานต่าง ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับคดีความหรือการฟ้องร้องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หลังจากเหตุการณ์การจารกรรมข้อมูล ภัยคุกคาม หรือข้อมูลสำคัญรั่วไหล 


    ISO (International Organization for Standardization) ได้กำหนดมาตรฐานสากล ISO/IEC 27037:2012 Information technology-Security techniques-Guidelines for identification, collection, acquisition, and preservation of digital evidence  ที่เกี่ยวกับหลักการด้าน “กระบวนการจัดการข้อมูลหลักฐานดิจิทัล” ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 4 ส่วนดังนี้

หลักฐานดิจิทัล” หมายถึง ข้อมูลใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ดิจิทัล หรือถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีการ กระบวนการที่ได้รับการรับรองตามหลักการสากล สำหรับนำเสนอหรือใช้งานเหตุการณ์ที่มีคดีความ ให้สามารถใช้นำเสนอเป็นหลักฐานในชั้นศาล เพื่อรับฟังเป็นพยานหลักฐานในศาลที่มีเขตอำนาจได้ มาตรฐานจะหลีกเลี่ยงการใช้คำศัพท์เฉพาะเขตอำนาจศาลใดศาลหนึ่ง และจะไม่ครอบคลุมถึงการวิเคราะห์หลักฐานดิจิทัลหรือการยอมรับหรือการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน และความเกี่ยวข้อง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังไม่กำหนดให้ใช้เครื่องมือหรือวิธีการเฉพาะ

รูปที่ 1 กระบวนการจัดการข้อมูลหลักฐาน
ภาพจาก A Novel Process Framework for Digital Forensics Tools: Based on ISO/IEC 27037:2012, โดย Da-Yu Kao, Guan-Jie Wu and Ying-Hsuan Chiu

 


ท่านสามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่ link ด้านล่าง



อ่านเพิ่มเติม


หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WindowsForensic #computerforensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics #investigation #cybercrime #fraud #กระบวนการพิสูจน์หลักฐานทางด้านดิจิทัล

 

No comments:

Post a Comment

Digital Forensics:WhatsMyName (OSINT)

Digital Forensics:WhatsMyName (OSINT) Welcome to WhatsMyName This tool allows you to enumerate usernames across many websites How to use: 1....