Friday, May 31, 2019

Digital Forensics: จับผิด กลโกงร้านอาหาร

Digital Forensics: จับผิด กลโกงร้านอาหาร


ร้านผมโดนพนักงานทุจริต!!

จริงๆเรื่องนี้เป็นเรื่องที่หลายร้านอาหารอยากจะรู้กลเม็ดการโกงของลูกน้องตัวดีแต่ก็ไม่เคยมีโอกาสได้เขียนขึ้นมาซักที 
.
แต่วันนี้ที่ตัดสินใจเขียนขึ้นมาก็เพราะว่า
.
อาทิตย์ที่แล้วร้านผมเพิ่งโดนทุจริตไปเกือบ 400,000 บาท!!!!!
.
ใช่ครับ
.
หลายคนคงคิดว่า บ้ารึเปล่าทำไมปล่อยให้พนักงานทุจริตไปขนาดนี้ ทำร้านมานานขนาดนี้ไม่มีระบบการจัดการเลยหรอ
.
ผมจะบอกว่าในความเป็นจริงแล้วไม่มีระบบไหนจะฉลาดไปกว่ามนุษย์ได้หรอก เมื่อไหร่ที่มนุษย์มีความโลภ มีความอยากได้ มนุษย์จะสามารถหาทางเพื่อให้ได้มาเสมอเมื่อมีโอกาส
.
และเมื่อไหร่ที่คุณทำร้านอาหารมาระดับนึงและคิดว่าระบบนิ่งแล้ว ไม่จำเป็นต้องเข้าร้านก็ได้ วันนั้นแหละคือวันที่คุณมีโอกาสจะถูกทุจริตได้
.
ยิ่งร้านอาหารเป็นธุรกิจที่ต้องเกี่ยวข้องกับเงินสดในทุกๆวันทั้งในส่วนของขารับจากการขายอาหารให้ลูกค้าและขาจ่ายที่จะต้องมีการซื้อวัตถุดิบและจ่ายค่าแรงพนักงานด้วยแล้ว ทำให้มีโอกาสที่จะถูกทุจริตสูงกว่าธุรกิจอื่นๆ 
.
.
----------------------------------------------------------------------------
.
ซึ่งวิธีการที่พนักงานของร้านจะทุจริตนั้นมีหลากหลายเป็นร้อยสิธีการไม่ว่าจะด้วยตัวคนเดียวหรือเป็นทีมเป็นขบวนการ แต่แท้จริงแล้ววิธีหรือเทคนิคหลักๆในการทุจริตนั้นมีอยู่ไม่กี่รูปแบบ หากเจ้าของร้านรู้เท่าทันกลโกงเหล่านี้ก็จะช่วยสามารถวางแผนป้องกันการเกิดการทุจริตลงไปได้มาก ซึ่งวิธีการที่พบได้บ่อยมีดังนี้
.

1. ทุจริตโดยรู้เห็นกับซัพพลายเออร์

.
หากร้านไหนให้ฝ่ายจัดซื้อหรือหัวหน้าเชฟเป็นคนตัดสินใจในการเลือกซัพฯหรือต่อรองราคาโดยคุณไม่เคยไปตรวจสอบเลย ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดการทุจริตได้อย่างแน่นอน ซึ่งรูปแบบการทุจริตอาจมีดังนี้
.
- ขอค่าคอมมิสชั่นจากซัพพลายเออร์
.
ร้านยิ่งมีสาขาเยอะยิ่งขายดี ย่อมเป็นร้านที่ซัพฯทุกคนอยากจะเข้ามาขายของ บางครั้งแค่สามารถขายวัตถุดิบได้เพียงตัวเดียวอาจสร้างยอดได้เป็นแสนๆต่อเดือน 
.
เมื่อไหร่ที่ซัพฯเป็นฝ่ายติดต่อมาหาร้านแล้วต้องผ่านเชฟหรือจัดซื้อ ก็จะมีโอกาสที่จะถูกขอค่าคอมมิชชั่นโดยอาจขอเป็นเงินก้อน ซึ่งจะเป็นการกินสั้นแต่กินเยอะ
.
- กินส่วนต่างของราคาโดยรู้เห็นกับซัพพลายเออร์
.
อีกวิธีการที่พบได้บ่อยๆคือการกินส่วนต่างจากราคาค่าวัตถุดิบทีละนิดๆ ซึ่งจะเป็นการกินน้อยแต่กินยาว และวิธีการนี้จะสามารถตรวจสอบได้ยากมากเพราะบางครั้งราคาอาจแตกต่างจากราคาตลาดเพียง 3-5% เท่านั้น ทำให้ยากต่อการสังเกต 
.
เช่น สมมุติว่าปลาแซลมอนราคาปกติอยู่ที่กิโลกรัมละ 350 บาท เชฟคุณหรือจัดซื้ออาจตกลงกับทางซัพฯ โดยขอเพิ่มอีก 10 บาทต่อกิโลในทุกครั้งที่สั่งซื้อ กลายเป็นว่าร้านคุณต้องซื้อปลาในราคาโลละ 360 บาททันที และเชฟหรือจัดซื้อก็จะได้เงินเข้ากระเป๋าทุกเดือนไปเรื่อยๆ
.
.

2. ทุจริตภายในร้าน

.
การทุจริตด้วยตัวคนเดียวมักจะเกิดในตำแหน่งที่มีส่วนรู้เห็นกับการจับเงินโดยตรง เช่น ผู้จัดการ หรือแคชเชียร์ของร้าน ซึ่งการทุจริตนั้นมีได้ทั้งเคสเล็กๆเช่น แอบทานอาหารในร้าน ไปจนถึงทุจริตเงินเป็นก้อน
.
- แอบทานวัตถุดิบของร้าน
.
การแอบทานวัตถุดิบของร้านถือเป็นการทุจริตประเภทนึง ซึ่งถึงแม้คุณอาจปิดหูปิดตาเพราะมองว่าคงเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่หากทำติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และมีจำนวนหลายคนแล้วย่อมทำให้ร้านคุณสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมากได้เลย
.
- การขโมยเงินจากยอดขายของร้าน (ไม่มี POS)
.
หากร้านอาหารคุณไม่ได้ทำการติดตั้งระบบคิดเงิน (POS) และไม่มีนับปริมาณอาหารหรือจำนวนเมนูที่ขายไปแต่ละวันแล้วนั้น คุณจะไม่สามารถตรวจสอบได้เลยว่าจริงๆแล้ววันนี้คุณขายได้ยอดขายเท่าไหร่กันแน่ เพราะมันง่ายมากที่แคชเชียร์จะเก็บเงินเข้ากระเป๋าตัวเองเมื่อลูกค้าจ่ายเป็นเงินสด
.
- การ void หรือยกเลิกบิล เพื่อเก็บส่วนต่าง
.
ในกรณีที่ร้านคุณมีระบบ POS ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางเกิดการทุจริต โดยมากเจ้าของร้านจะมอบหมายให้ผู้จัดการร้านหรือแคชเชียร์เป็นคนที่สามารถคิดเงินหรือใช้ระบบ POS เท่านั้น และใน POS นั้นจะมีฟังก์ชั่นให้สามารถ Void หรือยกเลิกบิลได้ ในกรณี เช่น ลูกค้าย้ายโต๊ะ คิดเงินลูกค้าผิด สั่งเมนูผิด ฯลฯ
.
แต่นั่นก็เท่ากับคุณเปิดโอกาสให้พนักงานทุจริตด้วยเช่นกันหากระบบ POS นั้นไม่สามารถจำกัดสิทธิ์การ Void หรือรายงานการ Void ทุกครั้งได้
.
ยกตัวอย่างเช่น พนักงานคิดเงินลูกค้าปกติ 6 เมนูเป็นเงิน 900 บาท แต่พอถึงเวลาเก็บเงินพนักงานอาจจะทำการ Void ออกไป 1 เมนู แล้วใส่เงินลงในเก๊ะเพียงแค่ 700 บาท โดยคุณก็ไม่มีทางรู้ว่าที่ยกเลิกไปนั้นเพราะ คิดเงินลูกค้าผิด อาหารมาไม่ครบ หรือลูกค้ายกเลิกเมนูนั้นได้เลย
.
- ขโมยเงินค่าวัตถุดิบ
.
หากร้านคุณใช้วิธีเอาเงินสดให้พนักงานไปซื้อของที่ตลาด คุณจะมั่นใจได้ยังไงว่าราคาที่พนักงานซื้อจะใช่ราคาขายของร้านนั้นจริงๆ หรือค่ารถที่พนักงานบอกคุณจะตรงกับความเป็นจริง ยิ่งราคาผักที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุกๆวันด้วยแล้ว หากพนักงานทุจริตเงินคุณไป 200 บาท คุณแทบจะไม่สามารถรู้ได้เลย แต่เกิดเค้าทำแบบนี้มาเป็นระยะเวลา 1 ปี คุณลองคิดดูว่ากำไรคุณจะหายไปเท่าไหร่
.
- ขโมยวัตถุดิบออกนอกร้านไปขาย
.
คุณคงนึกว่าคงจะมีแต่พนักงานหน้าร้านที่จับเงินเท่านั้นถึงมีโอกาสที่จะทุจริตได้ แต่ในความจริงแล้วพนักงานครัวก็สามารถทุจริตได้เช่นกัน และของที่มีมูลค่าสูงที่สุดในร้านอาหารของคุณก็คือตัววัตถุดิบที่เอง .
.
เทคนิคง่ายในการขโมยวัตถุดิบในร้านคือ การขโมยวัตถุดิบใส่กระเป๋าหรืออาจจะใส่ถุงดำเพื่อนำไปทิ้ง แล้วค่อยไปแกะออกมาตอนออกนอกร้านภายหลังและนำไปขายต่อ คุณก็แทบไม่มีทางตรวจสอบได้เลย หากคุณไม่ทำการตรวจนับสต๊อกว่าสอดคล้องกับยอดขายของคุณหรือเปล่า หลายๆร้านอาหารต่างประเทศจึงเปลี่ยนถุงขยะจากถุงดำเป็นถุงใสเพื่อที่จะได้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้น
.
- ขโมยเงิน petty cash (เงินสดย่อย)
.
ทุกร้านอาหารที่เจ้าของร้านไม่ได้อยู่เฝ้าร้านเองตลอดเวลาจะมีการทิ้งเงินสดย่อยหรือ Petty cash ไว้ให้พนักงานเผื่อใช้จ่ายในค่าใช้จ่ายจิปาถะที่ไม่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายปกติ ซึ่งในหลายๆครั้งค่าใช้จ่ายเหล่านี้มักจะไม่มีบิลหรือมีบิลออกมาในรูปแบบของบิลเงินสดซึ่งพนักงานสามารถเมคขึ้นมาได้เอง ทำให้เป็นอีกช่องทางที่จะง่ายต่อการทุจริต .
.
ร้านอาหารเชนใหญ่ๆจึงพยายามลดเงินสดย่อยให้เหลือน้อยลงเรื่อยๆ เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการทุจริตลง
.
- ทุจริตเป็นขวนการ
.
การทุจริตโดยมีการร่วมมือกันระหว่างพนักงานในร้านเป็นสิ่งที่ตรวจสอบได้ยากที่สุด ยิ่งถ้ามีการรู้เห็นระหว่างพนักงานหน้าบ้านและหลังบ้านแล้ว จะเป็นเรื่องยากที่ร้านอาหารจะสามารถตรวจพบเจอการทุจริต .
ยิ่งร้านอย่างเราๆที่ไม่ได้มีฝ่ายตรวจสอบหรือเก็บข้อมูลการขายหรือตรวจเช็ควัตถุดิบอย่างต่อเนื่องแล้ว กว่าจะรู้ว่าร้านเราถูกทุจริตบางครั้งก็อาจจะสายเกินไปที่จะจับคนผิดหรือได้เงินคืน
.
ซึ่งโดยมากเรื่องจะปูดจากการที่พนักงานด้วยกันเองออกมาเปิดเผยหรือเกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุทำให้เรื่องแดงออกมา
.
.
---------------------------------------------------------------------------------

ที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนี้เป็นแค่ส่วนนึงของวิธีการทุริตเท่านั้น ยังมีอีกหลายร้อยวิธีที่พนักงานสามารถทุจริตได้ 
.
ซึ่งร้านผมเองต่อให้จะพยายามวางระบบดีแค่ไหน ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าตลอด 4ปีที่ทำร้านมานั้น เคยจับพนักงานทุจริตไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง สูญเสียรายได้เป็นหลักล้านบาท
.
ในชีวิตจริงเราคงไม่สามารถห้ามไม่ให้พนักงานทุจริตได้ แต่การสร้างระบบการจัดการ ตรวจสอบที่ดี รวมถึงการเข้าไปสุ่มเช็คการทำงานในแต่ละส่วนอย่างต่อเนื่อง ก็จะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดการทุจริต หรือต่อให้เกิดการทุจริตคุณก็จะมีระบบในการตรวจสอบย้อนหลังเพื่อหาหลักฐานเพื่อเอาผิดพนักงานเหล่านั้นได้
.

มาถึงนี่หลายคนคงอยากรู้ว่าแล้วจะหาวิธีป้องกันการทุจริตได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย
--> TORPENGUIN
.


ที่มา:
Facebook : Torpenguin - ผู้ชายขายบริการ  31 May 2019


หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ


#WindowsForensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics  #computerforensic #investigation #cybercrime #fraud

No comments:

Post a Comment

Digital Forensics:User Access Logging (UAL)

 Digital Forensics:UAL  Log What Is User Access Logging? UAL is a feature included by default in Server editions of Microsoft Windows, start...