Monday, August 6, 2018

Digital Forensics: หลักเกณฑ์การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

Digital Forensics: หลักเกณฑ์การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์


การลงลายมือชื่อในการทำธุรกรรมต่าง ๆ นอกจากการลงลายมือชื่อด้วยการเขียนบนกระดาษแล้ว เรายังสามารถลงลายมือชื่อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ และมีผลทางกฎหมายเหมือนกัน
พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เอาไว้ ดังนี้
1. ต้องใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อได้
2. ต้องแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 
3. วิธีการที่ใช้ต้องเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้ โดยความน่าเชื่อถือจะต้องพิจารณาจากสิ่งเหล่านี้
  • 3.1 ความมั่นคงและความรัดกุมของวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการนำลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ และวิธีการสร้างความผูกพันระหว่างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์กับเจ้าของลายมือชื่อ
  • 3.2 ความเหมาะสมของวิธีการกับลักษณะ ประเภท มูลค่าของการทำธุรกรรม ความสม่ำเสมอในการทำธุรกรรม ประเพณีทางการค้า
  • 3.3 ความรัดกุมของระบบสื่อสาร

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร 


ตัวอย่างการนำลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ในการกระบวนพิจารณาคดีของศาล


 ตัวอย่าง e-Signature 


นอกจากนี้ ยังได้กำหนดลักษณะของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้ใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ เพื่อให้การทำธุรกรรมนั้น มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น โดยกฎหมายได้กำหนดลักษณะของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไว้ ดังนี้
1. ข้อมูลที่ใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะต้องเชื่อมโยงไปยังเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
2. ข้อมูลที่ใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของลายมือชื่อเท่านั้น
3. หากเกิดความเปลี่ยนแปลงใด ๆ แก่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะต้องสามารถตรวจพบได้
ตัวอย่างของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการนำมาใช้ ได้แก่ Username & Password, One Time Password, Fingerprint และ iris เป็นต้น
ดูรายละเอียดของพระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
https://ictlawcenter.etda.or.th/laws
https://www.oic.or.th
เครดิต : #ETDA 

หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WindowsForensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics #computerforensic #investigation #cybercrime #fraud

No comments:

Post a Comment

เจาะลึก 14 Certifications ด้าน Cybersecurity

เจาะลึก 14 Certifications ด้าน Cybersecurity เจาะลึก 14 Certifications ด้าน Cybersecurity ที่น่าสนใจ! แชร์มุมมองส่วนตัวเกี่ยวกับ certificati...