Wednesday, February 15, 2023

พิสูจน์หลักฐานดิจิทัล: ไขคดีอาชญากรรมไซเบอร์

พิสูจน์หลักฐานดิจิทัล: ไขคดีอาชญากรรมไซเบอร์

ยังคงเป็นปริศนาว่า “เงิน” ถูกโอนออกจากแอปพลิเคชันธนาคาร ของเยาวชนวัย 16 ปี ชาว จ.นครศรีธรรมราช ได้อย่างไร ? ที่ผ่านมา พบ คดีการหลอกลวงทางไซเบอร์ ทำให้ผู้เสียหายหลายคนสูญเสียเงินไปโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่ยืนยันว่า ไม่เคยกดลิงค์ หรือ ดาวน์โหลด อะไรแปลกๆ ลงมือถือหรือคอมพิวเตอร์ . เจ้าหน้าที่รับมือกับคดีเหล่านี้ ด้วยการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัล หรือ Digital Forensics แกะรอยของกลุ่มมิจฉาชีพ เพื่อตอบคำถามว่า เงินหายไปได้อย่างไร


ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สายการบิน แจกตั๋วเครื่องบินฟรีในฤดูกาลท่องเที่ยว แนะ   วิธีป้องกัน อย่ากดลิงก์ที่แนบมากับ SMS ดาวน์โหลดแอปฯ และโปรแกรมผ่าน App Store หรือ Play Store เท่านั้น

วันที่ 25 ม.ค.2566 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) กล่าวว่า สื่อสังคมออนไลน์เปิดเผยถึงกรณีผู้เสียหายหลายคนถูกมิจฉาชีพส่ง SMS มายังโทรศัพท์มือถือของตนเอง แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สายการบินต่าง ๆ พร้อมกับข้อความลักษณะว่า “ขอบคุณที่ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ท่านได้รับบินเที่ยวฟรี” โดยให้กดลิงก์ที่แนบมากับข้อความดังกล่าว เพื่อเป็นการเพิ่มเพื่อนสายการบินทางแอปพลิเคชันไลน์

พิสูจน์หลักฐานดิจิทัล: ไขคดีอาชญากรรมไซเบอร์
ภาพจาก THAI PBS News

จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่โทรศัพท์ติดต่อไปยังผู้เสียหายสอบถามข้อมูลต่าง ๆ และหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของสายการบินที่ส่งให้ทางไลน์อีกครั้ง เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อติดตั้งแอปพลิเคชันดังกล่าว มิจฉาชีพจะหลอกให้เข้าไปกรอกข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลทางการเงิน หรือให้ตั้งรหัส PIN 6 หลัก รวมถึงการให้สิทธิ์แอปพลิเคชันเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนต่าง ๆ ทำให้มิจฉาชีพสามารถเชื่อมต่อระบบเข้ามา และควบคุมหน้าจอโทรศัพท์ของเหยื่อเมื่อใดก็ได้ โดยจะทิ้งระยะเวลาให้ผู้เสียหายตายใจ ระหว่างนี้มิจฉาชีพจะสังเกตพฤติกรรม เช่น ใช้ธนาคารใด มีเงินในบัญชีเท่าใด และจดจำรหัสผ่านจากที่ผู้เสียหายกดเข้าระบบของแอปพลิเคชันธนาคาร กระทั่งเวลาผ่านไปจนเผลอ เมื่อได้โอกาสมิจฉาชีพจะเชื่อมต่อแล้วโอนเงินออกจากบัญชีไป

พิสูจน์หลักฐานดิจิทัล: ไขคดีอาชญากรรมไซเบอร์
ภาพจาก THAI PBS News

โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า การหลอกลวงในรูปแบบดังกล่าว มิจฉาชีพจะใช้ความไม่รู้และความโลภของประชาชนเป็นเครื่องมือในการหลอกลวง ใช้ความสมัครใจหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม มีการใช้สัญลักษณ์ หรือตราของสายการบินเพื่อให้แอปพลิเคชันปลอมดังกล่าวเหมือนของแอปพลิเคชันจริง และมีความน่าเชื่อถือ โดยต้องสังเกตให้ดีถึงจะทราบว่าไม่เหมือนกัน

พิสูจน์หลักฐานดิจิทัล: ไขคดีอาชญากรรมไซเบอร์
ภาพจาก THAI PBS News

ไขคดีอาชญากรรมไซเบอร์
ภาพจาก THAI PBS News

อย่างไรก็ตาม ฝากไปยังประชาชนให้ระมัดระวังมีสติอยู่เสมอ รู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพ ของถูกต้องถูกอย่างมีเหตุผล ของฟรีไม่มีในโลก รวมไปถึงฝากแจ้งเตือนไปยังบุคคลใกล้ชิด หรือแจ้งไปยังหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานนั้น ๆ หากพบเห็นข้อความ ลิงก์ ในลักษณะดังกล่าวให้ช่วยตรวจสอบ เพื่อลดการตกเป็นผู้เสียหาย

#โดนดูดเงิน #อาชญากรรมไซเบอร์ #DigitalForensics 
นิติเวชดิจิทัล ไขความลับเงินหาย

อ่านเพิ่มเติม: “Digital forensics” สืบจากดิจิทัล แกะรอยอาชญากรรมไซเบอร์


ที่มา:THAI PBS News 

หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WindowsForensic #computerforensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics #investigation #cybercrime #fraud

No comments:

Post a Comment

Digital Forensics:WhatsMyName (OSINT)

Digital Forensics:WhatsMyName (OSINT) Welcome to WhatsMyName This tool allows you to enumerate usernames across many websites How to use: 1....