Monday, August 31, 2020

Digital Forensics:หลักสูตรการสืบสวนสอบสวนและการรับฟังพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ (Thammasat Digital Evidence)

Digital Forensics:หลักสูตรการสืบสวนสอบสวนและการรับฟังพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ (Thammasat Digital Evidence) 

ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่: ลงทะเบียนหลักสูตรการสืบสวนสอบสวนและการรับฟังพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์

หัวข้อการอบรม

1. หลักกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวน การรับฟัง การรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์
2. การเตรียมการในการรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในคดีต่างๆ
3. การแสวงหาพยานหลักฐานจากเงินสกุลดิจิตัล (Digital Coin) และระบบ NDID การยืนยันตัวตน
4. วิธีการสืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในคดีต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต โดยใช้ Google Platform และ iTools
5. การใช้โปรแกรมเจาะระบบคอมพิวเตอร์ หรือ Facebook เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์
6. การใช้เทคโนโลยีและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล เพื่อรวบรวมพยานอิเล็กทรอนิกส์ในคดีแพ่งและคดีอาญา ผ่านทาง Mobile , Computer, Social Media, Cloud และ Bitcoin
7. หลักการรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ของศาลไทย และหลัก Chain of Custody
8. การดำเนินการทางนิติวิทยาศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ (Computer Forensics) โดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กู้ข้อมูลจากมือถือเพื่อใช้ในคดีหรือข้อพิพาททางกฎหมาย

พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ (Thammasat Digital Evidence)

วิธีการอบรม

การฝึกอบรมเป็นไปในลักษณะที่วิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อกำหนด และให้ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างการอบรม โดยมีการหยิบยกกรณีศึกษาประกอบการบรรยายและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

บรรยายร้อยละ 60 ภาคปฏิบัติร้อยละ 40

ขอให้ผู้เข้ารับการอบรมทุกท่านจัดเตรียมโน๊ตบุ๊ค เพื่อฝึกการเข้าถึงพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกัน

วิทยากร

1.ศาสตราจารย์ ณรงค์ ใจหาญ
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2.อาจารย์ พ.ต.อ. ญาณพล ยั่งยืน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
3.อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
4.อาจารย์ ดร. ธีร์รัฐ บุนนาค
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ
5.อาจารย์ณัฐพงษ์ ลิ้มแดงสกุล
ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์
6.อาจารย์โดม เจริญยศ
ผู้เชี่ยวชาญด้านเงินสกุลดิจิตัล

กลุ่มผู้เข้าร่วมอบรม

นักกฎหมายที่ปฏิบัติงานหรือมีความสนใจในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวนและการรับฟังพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์

วุฒิบัตร

ผู้เข้าอบรมที่เข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาอบรมทั้งหมด จะได้รับวุฒิบัตรจากคณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระยะเวลาการอบรม

วันที่ 19-21 กันยายน เวลา 9.00-17.30 น.

สถานที่อบรม

ณ โรงแรมไบหยกสกาย

ค่าธรรมเนียมการอบรม

ค่าธรรมเนียมในการอบรมจำนวน 23,000  บาท

ราคานี้รวมอาหาร เครื่องดื่ม เอกสารประกอบการบรรยายและวุฒิบัตร

**ค่าใช้จ่ายในการอบรม บริษัทหรือหน่วยงานสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 200%**

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์อบรมและให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย (Legal Training and Consultancy Center (LeTec))
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200
โทร. 02-613-2139
Facebook: LeTEC.LawTU
Line: @leteclawtu
E-mail : letec@tu.ac.th

ที่มา:   law.tu.ac.th 
           

อ่่านเพิ่มเติม:  อบรม computer forensic.

หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ


#WINDOWSFORENSIC #COMPUTERFORENSICS #DFIR #FORENSICS #DIGITALFORENSICS #COMPUTERFORENSIC #INVESTIGATION #CYBERCRIME #FRAUD

No comments:

Post a Comment

Digital Forensics:User Access Logging (UAL)

 Digital Forensics:UAL  Log What Is User Access Logging? UAL is a feature included by default in Server editions of Microsoft Windows, start...