Digital Forensics:ถอดรหัสนิติวิทยาศาสตร์
แนะนำหนังสือเรื่อง ถอดรหัสนิติวิทยาศาสตร์
สืบเบาะแส ท้าคดี อาชญากรรมสุดระทึก!
ผู้เขียน Alex Frith (อเล็กซ์ ฟริท)
ผู้แปล พลอย สืบวิเศษ
ผู้แปล พลอย สืบวิเศษ
หนังสือเล่มนี้อธิบายกระบวนการทำงานของนิติวิทยาศาสตร์ที่หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องยากให้เข้าใจง่ายขึ้น ด้วยภาษาที่ไม่ซับซ้อน เนื้อหาที่กระชับ ความรู้แปลกใหม่ และการไขคดีอาชญากรรมที่ชวนทึ่งจากทั่วโลก สำหรับคนทั่วไปที่ไม่รู้จักเรื่องนิติวิทยาศาสตร์มาก่อน หนังสือเล่มนี้เหมาะแก่การศึกษา และหากใครที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ "ถอดรหัสนิติวิทยาศาสตร์" เป็นหนังสืออีกเล่มที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
สืบคดีสไตล์ CSI รูปภาพจาก หนังสือ ถอดรหัสนิติวิทยาศาสตร์ |
- สารบัญ
- บทที่ 1 วิทยาศาสตร์และกฎหมาย
- บทที่ 2 สืบจากเหงื่อ
- บทที่ 3 ล้วงลับคราบเลือด
- บทที่ 4 ความลับในเซลล์
- บทที่ 5 ศพให้การ
- บทที่ 6 เงื่อนงำจากธรรมชาติ
- บทที่ 7 จิ๋วแต่แจ๋ว
- บทที่ 8 พุ่งไปกับกระสุนปืน
- บทที่ 9 ชำแหละระเบิด
- บทที่ 10 เบาะแสจากเอกสาร
- บทที่ 11 รูปพรรณของอาชญากร
- ฯลฯ
คำนิยม
ถอดรหัสนิติวิทยาศาสตร์ อธิบายกระบวนการทำงานของนิติวิทยาศาสตร์ที่หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องยากให้เข้าใจง่ายขึ้น ด้วยภาษาที่ไม่ซับซ้อน เนื้อหาที่กระชับ ความรู้แปลกใหม่ และการไขคดีอาชญากรรมชวนทึ่งจากทั่วโลก
-- แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ --
ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
การตามรอยทางอิเล็กทรนิกส์
คนทั่วไปยังคงใช้ลายเซ็นป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร แต่การเก็บข้อมูลสำคะญไว้ในคอมพิวเตอร์ก็เป็นสิ่งสำคัะญที่ทำกันมากขึ้น โดยมีการป้องกัน เช่น การใส่รหัส หรือ การใช้เลขรหัสประจำตัว (Personal Identifivation Number: PIN) เพื่อรักษาความปลอดภัยช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา อาชญากรรมประเภทใหม่นี้เกิดขึ้นเป็นประจำ นั้นคื การฉ้อโองทางเล็กทรอนิกส์ (electronic fraud) ผู้รู้วิธีใช้คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เน็ตสามารถสวนรวยเป็นบุคคลอื่นและเจาะฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพื่อขโมยข้อมูล และนำไปเปิดเข้าระบบบัญชีธนาคารของคนหนึ่งเพื่อขโมยเงิ้นทั้งหมดได้
นักนิติคอมพิวเตอร์ต้องมีความรู้เหนือกว่าอาชญากรคอมพิวเตอร์เสมอ โชคดีที่ส่วนใหญ่แล้วมักมีหลักฐานมากพอให้นักนิติคอมพิวเตอร์ตรวจสอบ ทุกครั้งที่มีคนใช้คอมพิวเตอร์ จะมีการบันทึกไว้ในหน่วยความจำเพื่อให้ตรวจสอบคำสั่งที่ใช้งานและเวลาที่ใช้ได้สำหรับคนส่วนใหญ่ ข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นแค่ตัวอักษรที่อ่านไม่เข้าใจ แต่ผู้เชี่ยวเข้าใจข้อมูลเหล่านี้
แม้จะลบข้อมูลในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ไปแล้ว ตราบใดที่ยังไม่มีการใส่ข้อมูลใหม่ หรือคอมพิวเตอร์ยังไม่ถูกทำลาย ข้อมูลเหล่านี้ยังคงอยู่ นักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบวงจรคอมพิวเตอร์เพื่อระบุคำสั่งที่ใช้เมื่อเร็วๆนี้ และกู้แฟ้มเอกสารที่ถูกลบทิ้งได้ การค้นหาข้อมูลเพื่อตรวจหาหลักฐานที่เป็นประโยชน์นับเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งเรียกว่า การกู้ข้อมูล (information retrieval)
นักนิติคอมพิวเตอร์อีกส่วนหนึ่งคอยตรวจสอบการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต โดยตรวจเว็บไซต์ที่น่าสงสัยหรือผิดกฎหมายเพื่อหาตัวคนเปิดเว็บไซต์และยังตรวจสอบคอมพิวเตอร์ของผู้สงสัยเพื่อดูรายชื่อเว็บไซต์ที่ผู้สงสัยเข้าไปดูได้ เช่น ตรวจสอบว่าผู้ต้องสงสัยเป็นสมาชิกกลุุ่มก่อการร้ายหรือไม่
โจรเคราะห์ร้าย
โทรศัพท์รุ่นใหม่มักมีระบบติดตามบอกตำแหน่ง (Global Positioning System : GPS) ซึ่งชิปที่เจ้าของเครื่องสามาถเปิดทำงานเพื่อบอกตำแหน่งที่อยู่ได้นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อการตามหาเครื่องโทรศัพท์ได้ด้วย เหมือนที่จอห์น บีย์รเล ทูตชาวเอมริกัน พบโทรศัพท์ของเขาในสนามบินบัลแกเรีย เมือ ค.ศ 2005
รูปภาพจาก หนังสือ ถอดรหัสนิติวิทยาศาสตร์ |
ที่มา:
se-ed ถอดรหัสนิติวิทยาศาสตร์
ถอดรหัสนิติวิทยาศาสตร์
หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น
* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ
No comments:
Post a Comment