Digital Forensics: วิธีการนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญ
วิธีการนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญ พยานผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง พยานบุคคลซึ่ง
มิได้ประสบพบเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีนั้นด้วยตนเอง แต่เป็นบุคคลผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญใน
ศาสตร์สาขาวิชาการ วิชาชีพ หรือสาขาใดสาขาหนึ่ง หรือกิจการด้านใดด้านหนึ่ง และมาเบิกความโดย
การให้ความเห็น และความเห็นนั้นมาจากความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะของผู้เชี่ยวชาญ
ซึ่งสามารถนำมาใช้ประกอบการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงที่พิพาทกันในคดีได้และที่ส าคัญต้องมีความ
เป็นกลางหรือปราศจากซึ่งอคติ และมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดี105
การรับฟังพยานผู้เชี่ยวชาญนั้น ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความแพ่งและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้มีการกล่าวถึงพยานผู้เชี่ยวชาญไว้
3 ประเภท ดังนี้ คือ
(1) ผู้เชี่ยวชาญ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 129 ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ศาล
แต่งตั้ง โดยศาลเห็นสมควรหรือโดยคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจพิสูจน์
บุคคล วัตถุและสถานที่ โดยใช้วิทยาการในศาสตร์ต่าง ๆ หรือใช้ความชำนาญจากประสบการณ์และให้
ความเห็น ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทซึ่งผู้เชี่ยวชาญนั้นอาจเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน หรือเกิดจากการปฏิบัติจนเกิดความช านาญหรือเชี่ยวชาญ
ในอาชีพของตนก็ได้106
(2) ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ เป็นถ้อยคำที่มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 98 ที่ว่า “คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะอ้างบุคคลใดเป็นพยานของตนก็ได้ เมื่อบุคคลนั้นเป็นผู้มี
ความรู้ความเชี่ยวชาญในศิลปะ วิทยาศาสตร์ การฝีมือ การค้าหรือการงานที่ทำ หรือในกฎหมาย
ต่างประเทศ และซึ่งความเห็นของพยานอาจเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อความในประเด็น
ทั้งนี้ไม่ว่าพยานจะเป็นผู้มีอาชีพในการนั้นหรือไม่” ดังนั้น นอกจากศาลจะตั้งผู้เชี่ยวชาญได้เองแล้ว
คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็อาจอ้างพยานผู้มีความรู้เชี่ยวชาญมาสนับสนุนข้ออ้างของตนได้107 ดัง
บัญญัติไว้ในมาตรา 99 วรรคสองว่า “บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ไม่ตัดสิทธิของคู่ความในอันที่จะเรียก
บุคคลผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญมาเป็นพยานฝ่ายตนได้”
(3) ผู้เชี่ยวชาญ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 ซึ่งได้มีการแก้ไข
โดยมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่
28) พ.ศ. 2551 โดยเปลี่ยนชื่อของพยานผู้ช านาญการพิเศษเป็นผู้เชี่ยวชาญ
การรับฟังพยานผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นพยานความเห็นนั้น โดยหลักแล้วศาลไม่อาจจะ
รับฟังหรือเอาความเห็นของบุคคลอื่นมาพิจารณาพิพากษาคดีได้ เพราะมิใช่ผู้เห็นหรืออยู่ใน
เหตุการณ์นั้น แต่ในบางกรณี ศาลจำเป็นจะต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิทยาการหนึ่ง ๆ
ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคดี โดยเฉพาะ
พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ที่ศาลจ าเป็นจะต้องฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความรู้
ความเชี่ยวชาญ และช านาญในการทดลองทางวิทยาศาสตร์แขนงนั้น ๆ
คุณสมบัติของพยานผู้เชี่ยวชาญ (ข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยผู้เชี่ยวชาญ
ของศาลยุติธรรม พ.ศ. 2546)
(1) มีอายุไม่ต่ ากว่า 20 ปีบริบูรณ์
(2) เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ / ความช านาญพิเศษ / มีประสบการณ์ในด้านที่ขอขึ้นทะเบียน
เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
(3) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
(4) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(5) ไม่เคยต้องโทษจ าคุกโดยค าพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระท าโดย
ประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(6) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่
สมประกอบ
(7) ไม่เคยถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้เชี่ยวชาญของศาล
(8) กรณีเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ที่มีองค์กรควบคุมวิชาชีพ ต้องไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตหรือ
ประพฤติผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ
พยานผู้เชี่ยวชาญมีลักษณะที่แตกต่างจากพยานบุคคลอื่น ๆ อยู่หลายประการ คือ
(1) พยานผู้เชี่ยวชาญเป็นบุคคลภายนอกที่มิได้มีความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในคดีเลย
กล่าวคือไม่ได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดี แต่เข้ามาในคดีเพราะบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องอาศัยความรู้
ความสามารถพิเศษ หรือประสบการณ์อันเป็นคุณสมบัติเฉพาะของผู้เชี่ยวชาญนั้นมาเบิกความเพื่อ
อธิบายข้อเท็จจริงบางอย่างให้เกิดความกระจ่างขึ้นแก่ข้อเท็จจริงในคดีดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าพยาน
ผู้เชี่ยวชาญนั้นจะมีความเป็นกลางมากกว่าพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดี หรือผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์ซึ่งจะ
มาให้การเป็นพยาน
(2) ความน่าเชื่อถือของพยานผู้เชี่ยวชาญนั้นเกิดจากความรอบรู้ ความชำนาญ หรือประสบการณ์
ทางวิชาการ หรือศาสตร์บางสาขาเฉพาะทาง ซึ่งบุคคลธรรมดาทั่วไปไม่สามารถที่จะรู้ได้เอง
(3) พยานผู้เชี่ยวชาญอาจท าค าให้การในรูปของความเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยจัดท าเป็นลายลักษณ์
อักษรหรือท าเป็นหนังสือเพื่อเสนอต่อศาลประกอบการเบิกความในศาลก็ได้ เนื่องจากความรู้ความ
เชี่ยวชาญบางอย่างนั้นต้องมีหลักเกณฑ์ที่สามารถพิสูจน์ได้ ที่อาจมีลักษณะสลับซับซ้อนยากที่จะ
ถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่นเข้าใจได้โดยอาศัยเพียงถ้อยค าเบิกความด้วยวาจาต่อศาลเท่านั้น
(4) พยานผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ให้ความเห็นต่อศาลเพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยคดี ซึ่งการเบิกความ
ของพยานผู้เชี่ยวชาญนั้นเป็นการเบิกความต่อศาลโดยอาศัยหลักความรู้ความชำนาญ และ
ประสบการณ์ ซึ่งผู้ที่ได้รับการอบรมศึกษา ฝึกฝนในศาสตร์เดียวกันย่อมมีความรู้เชี่ยวชาญเช่นเดียวกัน
ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาเดียวกัน ตามหลักการแล้วย่อมเบิกความเกี่ยวกับความรู้ของศาสตร์
ดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกัน และตามหลักการแล้วผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาเดียวกันจะสามารถทำการ
ตรวจพิสูจน์ทดแทนกันได้มิได้เป็นการเฉพาะตัวดังเช่นพยานบุคคล
การนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้
(1) พยานผู้เชี่ยวชาญอาจได้รับการแต่งตั้งโดยศาลมีค าสั่งแต่งตั้งพยานผู้เชี่ยวชาญเพื่อเบิกความ
ในคดีหนึ่งๆ หรือคู่ความขอน าพยานผู้เชี่ยวชาญเข้ามาสืบเป็นพยานของตนก็ได้ตามบทบัญญัติใน
มาตรา 99 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ
(2) ในการที่ศาลจะมีค าสั่งแต่งตั้งพยานผู้เชี่ยวชาญนั้น มาตรา 129 (1) แห่งประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาตามความเหมาะสมในแต่ละคดี โดย
ศาลอาจเห็นสมควรมีค าสั่งแต่งตั้งเองหรือเนื่องจากมีคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายมีค าขอ
ขึ้นมาก็ได้
(3) พยานผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งนั้น อาจถูกคัดค้านในด้านความรู้ความเชี่ยวชาญ หรือความ
เป็นกลางของพยานผู้เชี่ยวชาญจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง มาตรา 129 (2) แต่ในกรณีพยานผู้เชี่ยวชาญที่คู่ความอ้างมานั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้
คู่ความฝ่ายตรงข้ามคัดค้านได้
(4) ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งอาจแสดงความเห็นด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แล้วแต่ศาลจะ
กำหนด โดยความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130 วรรคหนึ่ง แต่
ผู้เชี่ยวชาญที่คู่ความอ้างเป็นพยานของตนนั้นจะต้องมาเบิกความด้วยวาจาต่อหน้าศาลเสมอ108 โดย
อาจทำรายงานเป็นหนังสือส่งต่อศาลด้วยหรือไม่ก็ได้ ซึ่งในกรณีที่พยานผู้เชี่ยวชาญจะต้องมาเบิก
ความด้วยวาจาต่อหน้าศาลนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130 วรรคสอง ให้
น าเอาบทบัญญัติว่าด้วยพยานบุคคลมาใช้บังคับโดยอนุโลม กล่าวคือ พยานจะต้อง “สาบานหรือ
ปฏิญาณตน และมีสิทธิที่จะได้รับค่าธรรมเนียมและรับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้ออกไปตามที่ได้ก าหนดไว้
ในกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้น”
(5) ในคดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 วรรคสอง ได้กำหนด
วิธีการน าสืบพยานผู้เชี่ยวชาญไว้ว่า “ผู้เชี่ยวชาญอาจทำความเห็นเป็นหนังสือก็ได้แต่ต้องส่งสำเนา
หนังสือดังกล่าวให้ศาลและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบและต้องมาเบิกความประกอบหนังสือนั้น โดย
ให้ส่งส าเนาหนังสือดังกล่าวต่อศาลล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน” เว้นแต่มีเหตุจ าเป็นหรือคู่ความไม่
ติดใจที่จะซักถามพยานผู้เชี่ยวชาญนั้นศาลจะให้รับความเห็นเป็นหนังสือดังกล่าวโดยผู้เชี่ยวชาญไม่
จำเป็นต้องมาเบิกความประกอบก็ได้
(6) ในกรณีที่คู่ความทั้งสองฝ่ายได้อ้างและน าสืบพยานผู้เชี่ยวชาญของตนเอง และความเห็นของ
ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกันนั้น ถือว่าความเห็นที่พยานผู้เชี่ยวชาญได้เบิกความต่อศาลนั้นมี
ฐานะเป็นเพียงพยานหลักฐานชิ้นหนึ่งในคดีเท่านั้น มิได้มีผลผูกพันให้ศาลจะต้องเชื่อตามความเห็น
ของพยานผู้เชี่ยวชาญเสมอไป ศาลอาจใช้ดุลพินิจในการชั่งน้ าหนักความน่าเชื่อถือความเห็นของพยาน
ผู้เชี่ยวชาญที่คู่ความแต่ละฝ่ายอ้างได
พยานผู้เชี่ยวชาญแต่เดิมนั้นกฎหมายถือว่าเป็นพยานบุคคล แต่ในปัจจุบันถือว่าเป็นพยาน
ผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความแตกต่างแยกออกมาจากพยานบุคคล เนื่องจากพยานบุคคลนั้นจะเบิกความจาก
ข้อเท็จจริงที่ได้ประสบพบเจอหรือได้ยินมา แล้วจึงนำมาเบิกความต่อศาล ส่วนพยานผู้เชี่ยวชาญนั้นจะ
เบิกความตามความเห็นของตนโดยอาศัยความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะ
ของตนในข้อเท็จจริงนั้น ๆแล้วเบิกความออกไป เช่น ในการท าสัญญากู้ยืมเงิน พยานบุคคลจะน าสืบ
ถึงการทำสัญญากู้ยืมเงินกับจำนวนเงินที่กู้ยืมกันว่าทำขึ้นจริงหรือไม่ ส่วนพยานผู้เชี่ยวชาญจะมุ่งพิสูจน์
ข้อเท็จจริงที่ลึกลงไปอีกถึงว่า กรณีของการลายมือชื่อในสัญญานั้นเป็นลายมือชื่อของจำเลยหรือไม่
กระดาษที่ใช้มีความเก่าตามวันที่ระบุไว้ในสัญญาหรือไม่ หรือกรณีแพทย์ที่ตรวจบาดแผลของผู้เสียหาย
เป็นต้น การนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญนั้นศาลจะมีค าสั่งแต่งตั้งพยานผู้เชี่ยวชาญโดยที่ศาลเห็นว่าเป็นการ
สมควรหรือโดยที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งร้องขอตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 129และพยานผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งนั้นอาจถูกคัดค้านจากคู่ความอีกฝ่ายได้ ซึ่งเป็นไปตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 129 (2) ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียงความ
คิดเห็นตามหลักวิชาของพยานผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และเป็นพยานที่ศาลรับฟังโดยดุลพินิจของศาลเอง
มิใช่ว่าผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นอย่างไรศาลต้องฟังตามนั้นเสมอไป
105 จรัญ ภักดีธนากุล, 2555 : 551
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”
หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น
* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ
#WINDOWSFORENSIC #COMPUTERFORENSICS #DFIR #FORENSICS #DIGITALFORENSICS #COMPUTERFORENSIC #INVESTIGATION #CYBERCRIME #FRAUD