Saturday, April 30, 2016

Digital Forensics:การตรวจพิสูจน์หลักฐานดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย

Digital Forensics:การตรวจพิสูจน์หลักฐานดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย

การตรวจพิสูจน์หลักฐานดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย

เข้าใจพยานหลักฐานดิจิตอล จากขั้นตอนใหม่ ถึงห้องพิจารณาคดี


เนื้อหาโดยสังเขป
    หนังสือเล่มนี้แนะนำการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล (Digital Evidence) ด้วยภาษาเรียบง่าย ผู้เขียนให้คำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวคิดทางเทคนิค เช่น พื้นที่ที่ไม่ได้จัดสรร สำเนาเพื่อการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน และลำดับเวลาที่แปลกปลอมของเหตุการณ์ รวมถึงอธิบายวิธีการระบุว่าหลักฐานใดที่ควรร้องขอ หลักฐานใดที่อาจค้นพบได้ และวิธีในการได้หลักฐานนั้นมา ตลอดจนวิธีการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญอย่างเหมาะสมทั้งก่อนและระหว่างการพิจารณาคดี ภาษาที่ธรรมดาของผู้เขียนทำให้แนวคิดเหล่านี้เป็นที่เข้าใจได้สำหรับนักศึกษา ทนายความ ผู้พิพากษา รวมถึงผู้บริหารองค์กร ช่วยขจัดช่องว่างทางความรู้เกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์หลักฐานดิจิทัล เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในระบบกฎหมายสามารถมีโอกาสมากขึ้น ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องและถูกนำมาใช้ในคดีและแสดงต่อศาล

การตรวจพิสูจน์หลักฐานดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย

หมวดที่ 1 การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลคืออะไร?
สารบัญ

หมวดที่ 1 การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลคืออะไร?

หมวดที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญ

หมวดที่ 3 คำร้องขอและการเปิดเผยพยานหลักฐาน

หมวดที่ 4 พยานหลักฐานดิจิทัลประเภททั่วไป


หมวดที่ 3 คำร้องขอและการเปิดเผยพยานหลักฐาน

คำนิยม
หนังสือเล่มนี้เป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานและครอบคลุมที่สุดสำหรับทนายความที่ทำคดีที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบพิสูจน์หลักฐานดิจิทัล นี่ไม่ใช่หนังาือประเภทที่มีไว้เพื่ออ่านผ่านๆ แล้วก็วางบนชั้น แต่เป็นหนังสือที่พวกเราต้องวางไว้บนโต๊ะเสมอ เพราะพวกเราจะต้อง นี่คือส่วนหนึ่งของคัมภีร์สำหรับทนายที่ว่าความคดี
สก็อต เอ็ช. กรีนฟิลด์
- ทนายความฝ่ายจำเลยในคดีอาญานครนิวยอร์ก

ในศตวรรษนี้ยันศตวรรษหน้า คดีความทั้งหลายไม่ว่าทางแพ่งหรือทางอาญาล้วนหลีกเลี่ยงพยานหลักฐานดิจิทัลไม่พ้น การเขียนอธิบายกฎหมายให้นักคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ ไม่ใช่เรื่องง่ายฉันใด การเขียนเรื่องกลไกการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้นักกฎหมายอ่านเข้าใจ ก็แสนยากฉันนั้น... หนังสือเล่มนี้ได้ทำเรื่องท้าทายดังกล่าวได้ดีเยี่ยมทั้งผู้เขียนและผู้แปล ชนิดที่ "นักไอทีอ่านได้ นักกฎหมายอ่านดี"
ผศ.สาวตรี สุขศรี
- ภาควิชากฎหมายและอาชญวิทยา

หนังสือเล่มนี้มอบองค์ความรู้อันจำเป็น เพื่อวางแนวทางสร้างความเข้าใจอันถูกต้อง ให้ได้รู้ว่าการดำเนินการทางพยานหลักฐานดิจิทัลมีความเฉพาะตัว และในหลายกรณีจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการที่ต่างออกไปจากพยานหลักฐานในคดีทั่วไป
ดร.จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน
- ศูนย์กฎหมายการแพทย์สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายละเอียดหนังสือ
ISBN    : 9786169240235 (ปกอ่อน) 544 หน้า
ขนาด    : 168 x 239 x 35 มม.
น้ำหนัก    : 855 กรัม
เนื้อในพิมพ์    : ขาวดำ
ชนิดกระดาษ    : กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์    : เพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง, มูลนิธิ
เดือนปีที่พิมพ์    : 4/2016
ชื่อเรื่องต้นฉบับ    : Digital Forensics for Legal Professionals : Understanding Digital Evidence From The Warrant To The C

ref:

se-ed
zigdashzag Facebook

#WindowsForensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics #computerforensic #investigation #cybercrime #fraud


หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น
* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

Digital Forensics:DFIR Certifications

Digital Forensics:DFIR Certifications


หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WindowsForensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics #computerforensic #investigation #cybercrime #fraud

Saturday, April 9, 2016

DIGITAL FORENSICS:Open Source Digital Forensics Conference

DIGITAL FORENSICS:Open Source Digital Forensics Conference


OSDFCon

OSDFCon

OSDFCon was started in 2010 by Brian Carrier at Basis Technology, following his years of research and development on open source digital forensic projects The Sleuth Kit and Autopsy. The first OSDFCon focused on The Sleuth Kit, and included both invited speakers and times dedicated to discussion and collaboration. Those discussions led to the creation of Autopsy 3, a platform for digital forensics development which now has tens of thousands of downloads each release.

2016 Autopsy Module Development Contest




ShellBags by Mark McKinnon

Recycle Bin
  • Summary: The module will export the SAM Hive and an $I file that exists on a Windows Vista+ system. It will parse the SAM hive getting userids. It will then parse the $I file getting the actual file location where the $R is suppose to be. It will add an artifact called TSK_RECYCLE_BIN and add the userid and actual file location to the artifact for each $R file.
  • Author: Mark McKinnon
  • Source Code: https://github.com/markmckinnon/Autopsy-Plugins/tree/master/Recycle_Bin
  

OSDFCon 2020 Slide
 
 
Ref:
 
หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WindowsForensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics #computerforensic #investigation #cybercrime #fraud

Friday, April 8, 2016

Digital Forensics:ศูนย์ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล

Digital Forensics:ศูนย์ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล

ที่มา: techtalkthai March 25,2016

เอ็ตด้า จับมือ ภาครัฐ-เอกชนเสนอกรอบการตรวจพยานหลักฐานดิจิทัล ยกระดับการทำงานสู่มาตรฐานสากล

23 มีนาคม 2559 – กรุงเทพฯ – ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ ( Digital Forensics Center ) ภายใต้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ( องค์การมหาชน ) ( สพธอ. ) หรือ ETDA ( เอ็ตด้า ) กระทรวงไอซีที เดินหน้าสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จับมือหน่วยงานรัฐร่วมพัฒนากรอบการทำงานการจัดเก็บและตรวจวิเคราะห์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ “ข้อเสนอแนะมาตรฐานการจัดการอุปกรณ์ดิจิทัลในงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล” เพื่อยกระดับกระบวนการพิสูจน์หลักฐานดิจิทัล ( Digital Forensics ) และกระบวนการยุติธรรม ให้ได้ตามมาตรฐาน มอก. 17025: 2548 หรือ ISO 17025:2005 ในระดับสากล เพื่อให้ได้หลักฐานที่น่าเชื่อถือ สามารถใช้อ้างอิง และเป็นที่ยอมรับในชั้นศาล พร้อมประกาศให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปประยุกต์ใช้ภายในมิถุนายน 2559

ภาพจาก : (TechTalkthai  เอ็ตด้า จับมือ ภาครัฐ-เอกชนเสนอกรอบการตรวจพยานหลักฐานดิจิทัล ยกระดับการทำงานสู่มาตรฐานสากล 23 มีนาคม 2559)

สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ( องค์การมหาชน ) หรือ ETDA ( เอ็ตด้า ) กล่าวว่า ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ ( Digital Forensics Center ) ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสพธอ. มีหน้าที่ในการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล และออกรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ตามคำร้องขอของหน่วยงานรักษากฎหมาย ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน พัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการเก็บหลักฐาน และตรวจตรวจวิเคราะห์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล

ในฐานะที่ ETDA เป็นองค์กรที่มีส่วนร่วมในการดูแลด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงการสนับสนุนส่งเสริมและกระตุ้นการเติบโตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( e-Commerce ) เอ็ตด้าเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล สามารถเข้ามาช่วยภาคเอกชนในการติดตามร่องรอย และแก้ไขปัญหาที่เกิดจากอาชญากรรมบนไซเบอร์ ( Cybercrimes ) ที่เพิ่มสูงขึ้นตามการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ รวมถึงการทำธุรกรรมด้านการเงินที่มีการขยายตัวและมีมูลค่าทางธุรกิจอย่างมหาศาล ซึ่งจากการสำรวจมูลค่าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยของเอ็ตด้า พบว่าในปี 2557 มีมูลค่าสูงกว่า 2.03 ล้านล้านบาท และจะมูลค่าสูงถึง 2.1 ล้านล้านบาทในปี 2558

“เมื่อเกิดกรณีการโจมตีภาคธุรกิจ อาทิ การขโมยฐานข้อมูล หรือฐานข้อมูลลูกค้าขององค์กรธุรกิจ ตลอดจนกรณีการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อย้ายเส้นทางการโอนเงินผ่านระบบธนาคารออนไลน์ ( e-Banking ) หรือการทำผิดกฏหมายบนไซเบอร์อื่น ๆ ทางศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์จะเข้ามาช่วยพิสูจน์ วิเคราะห์พยานหลักฐานเพื่อช่วยหน่วยงานยุติธรรมในการติดตามดำเนินคดีให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” สุรางคณา กล่าว

โดยในเฟสแรก เอ็ตด้าได้ตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึง สำนักป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, สถาบันนิติวิทยาศาสตร์, กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ( ปอท. ) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กลุ่มงานตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำความผิดทางเทคโนโลยี กองบังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี ( บก.สสท. ) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, สำนักงานอัยการสูงสุด หน่วยงานศาลและบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส จำกัด เพื่อเสนอแนวคิดและกำหนดแนวการทำงานร่วมกัน และในเฟสที่สองจะขยายความร่วมมือไปยังหน่วยงานภายใต้การดูแลของศาล

โดยการกำหนดมาตรฐานการทำงาน ยังรวมถึงการปรับปรุงกระบวนการทำงาน ( procedure ) ข้อกำหนดในการดำเนินงาน ( work instruction ) และระบบการบริหารจัดการคุณภาพ ( Quality Management System ) ให้มีความเป็นระบบ และได้มาตรฐานตามหลักตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล และสอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 17025:2005 หรือเป็นที่รู้จักตามมาตรฐาน มอก. 17025:2548 ในประเทศไทยอีกด้วย

“กระบวนการการเก็บหลักฐาน ขั้นตอนการตรวจพิสูจน์ถือเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะทำให้ผลการตรวจได้รับการยอมรับในชั้นศาล เราต้องสามารถยืนยันได้ว่าหลักฐานที่นำมาตรวจสอบนั้น เป็นหลักฐานชิ้นเดียวกับที่เก็บมาจากสถานที่เกิดเหตุจริง ( Authentication ) และไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใด ๆ ไปจากเดิม ( Integrity ) นั่นคือต้องสร้างแนวการทำงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจพิสูจน์ให้อยู่บนมาตรฐานเดียวกัน เพื่อความโปร่งใส และความเชื่อถือได้ในการตรวจสอบการทำงาน ทั้งนี้ เราคาดว่าผลสรุปที่ได้จากการทำงานร่วมกันในครั้งนี้ จะสามารถประกาศให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปประยุกต์ใช้ภายในมิถุนายน 2559” สุรางคณา กล่าว

ภาพจาก : (TechTalkthai  เอ็ตด้า จับมือ ภาครัฐ-เอกชนเสนอกรอบการตรวจพยานหลักฐานดิจิทัล ยกระดับการทำงานสู่มาตรฐานสากล 23 มีนาคม 2559)

ในปี 2558 ที่ผ่านมา ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ได้ให้บริการตรวจพิสูจน์จำนวน 57 กรณี โดยเกือบ 2 ใน 3 เป็นการตรวจพิสูจน์เพื่อหาพยานหลักฐาน เพื่อสนับสนุนหน่วยงานรักษากฎหมายในการดำเนินการกับผู้ต้องสงสัย หรือผู้กระทำความผิดจากหลักฐานดิจิทัลต่าง ๆ อาทิ การหาข้อมูลการสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือ การหาข้อมูลเพื่อหาหลักฐานด้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาผ่านอินเทอร์เน็ต รวมถึงการวิเคราะห์คอมพิวเตอร์ เพื่อหาข้อมูล และร่องรอยของมัลแวร์เพื่อเรียกค่าไถ่ ( Ransom Malware ) เป็นต้น

เราพบว่าปริมาณพยานหลักฐานดิจิทัล ที่ถูกส่งมาพิสูจน์ที่ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์มีจำนวนสูงถึงกว่า 75 เทราไบต์ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าปริมาณหลักฐานที่ตรวจพิสูจน์ในปี 2557 ถึง 10 เท่า โดยประเภทของหลักฐานแยกได้เป็นโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต 935 เครื่อง, เมมโมรีการ์ด 128 ชิ้น และฮาร์ดดิสก์จากคอมพิวเตอร์ 67 ลูก และเนื่องจากปริมาณความจุของพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันมีขนาดมหาศาล กระบวนการตรวจสอบต่าง ๆ ทั้งการค้นหาหลักฐาน และการทำสำเนาข้อมูล ต้องผ่านการจัดการที่เป็นระบบ สามารถรักษาความต่อเนื่องของการครอบครองพยานหลักฐาน หรือ Chain of Custody ที่ได้มาตรฐาน และสอดคล้องกับมาตรฐานที่เป็นสากล

ทั้งนี้ Chain of custody คือ ห่วงโซ่การคุ้มครองพยานหลักฐาน” หมายถึงข้อมูลที่ระบุรายละเอียดของพยานหลักฐาน และการส่งต่อพยานหลักฐานโดยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ซึ่งจะต้องมีการบันทึกไว้เริ่มตั้งแต่เมื่อพยานหลักฐานชิ้นนั้นถูกเก็บมาจากที่เกิดเหตุมาอยู่ในความครอบครองของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจนสิ้นสุดคดี

ภาพจาก : (TechTalkthai  เอ็ตด้า จับมือ ภาครัฐ-เอกชนเสนอกรอบการตรวจพยานหลักฐานดิจิทัล ยกระดับการทำงานสู่มาตรฐานสากล 23 มีนาคม 2559)

ที่ผ่านมา ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์มีส่วนช่วยหน่วยงานต่าง ๆ ในการวิเคราะห์พยานหลักฐานดิจิทัล และสืบค้นข้อมูลเพื่อช่วยเหลือในการคลี่คลายคดีเป็นจำนวนมาก โดยส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับกรณีกลุ่มคนร้ายที่หลอกผู้เสียหายผ่าน online chat ให้ดาวน์โหลด และติดตั้งมัลแวร์เพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคลในคอมพิวเตอร์ รวมถึงบันทึกพฤติกรรมการใช้งาน การพิมพ์ Web URL การกรอกชื่อผู้ใช้ ไปจนถึงการกรอกรหัสผ่านของบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Banking ) เพื่อทำการล็อกอินเข้าบัญชีอีแบงค์กิ้งของเหยื่อแล้วโอนเงินในบัญชีไปที่อื่น

จากการวิเคราะห์พยานหลักฐานดิจิทัลของผู้เสียหาย ทางศูนย์พบว่าคนร้ายได้หลอกให้ผู้เสียหายดาวน์โหลด และติดตั้งมัลแวร์หลายครั้งเพื่อเลี่ยงการตรวจจับของโปรแกรมแอนตี้ไวรัส และคนร้ายจะซ่อนหมายเลขไอพีแอดเดรสทุกครั้งที่เข้ามาดูความเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคารของเหยื่อ อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์ฯ สามารถเปิดโปงตัวตน ( Identity ) ของคนร้ายสำเร็จ โดยสามารถสกัดไอพีแอดเดรสที่คนร้ายใช้ ซึ่งนำไปสู่การจับกุมตัวกลุ่มคนร้าย รวมทั้งตรวจยึดคอมพิวเตอร์ของคนร้ายมาตรวจวิเคราะห์เพื่อยืนยันพฤติกรรมการกระทำความผิด และสามารถเชื่อมโยงกับพยานหลักฐานที่ตรวจพบในคอมพิวเตอร์ของเหยื่อได้สำเร็จ

นอกจากนั้น ยังมีกรณีของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่พบมากในปีผ่าน ซึ่งทางศูนย์ฯ ได้วิเคราะห์แล้วส่งข้อมูลเพื่อประสานงานไปยังผู้พัฒนาโปรแกรมแอนติไวรัส และหน่วยงานในเครือข่าย CERT เพื่อให้อัพเดตฐานข้อมูลการตรวจจับ และปิดกั้นเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นแหล่งดาวน์โหลดมัลแวร์ และยังมีกรณีที่ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ได้รับคำร้องขอให้ตรวจพิสูจน์เซิร์ฟเวอร์มากกว่า 20 เครื่องที่ต้องสงสัยว่าให้บริการชมวิดีโอออนไลน์ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งในการตรวจพิสูจน์ ต้องทำสำเนาข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดกว่า 150 TB ใช้เวลากว่า 1,000 ชั่วโมง

ภาพจาก : (TechTalkthai  เอ็ตด้า จับมือ ภาครัฐ-เอกชนเสนอกรอบการตรวจพยานหลักฐานดิจิทัล ยกระดับการทำงานสู่มาตรฐานสากล 23 มีนาคม 2559)

พร้อมกันนี้ ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ยังได้จัดทำระบบอีเลิร์นนิ่ง และจัดอบรมหลักสูตรอบรมดิจิทัลฟอเรนสิกส์ให้กับเจ้าหน้าที่สายยุติธรรม เพื่อให้เข้าใจหลักการการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลที่เป็นสากล เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมอีกด้วย ในปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ในสายยุติธรรมที่ได้รับการอบรมไปแล้วเป็นจำนวนกว่า 600 นาย


ที่มา:ศูนย์ดิจิตอลฟอเรนสิกส์ ชำแหละเพื่อพิสูจน์ http://news.ch3thailand.com/local/15542 

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ องค์การมหาชน หรือ เอ็ดด้า เปิดศูนย์ดิจิตอลฟอเรนสิกส์ สำหรับวิเคราะห์และพิสูจน์พยานจากข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดตามหาตัวคนร้ายกรณีเกิดอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น โดยได้ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนอีก 5 หน่วยงานในการบูรณาการร่วมกันเพื่อสร้างมาตรฐานให้กับกระบวนการยุติธรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเท่ากับว่าคนร้ายจะไม่สามารถหลีกหนีพยานหลักฐานไปได้ในชั้นศาล 

Credit: ศูนย์ดิจิตอลฟอเรนสิกส์ ชำแหละเพื่อพิสูจน์ http://news.ch3thailand.com/local/15542

Credit: ศูนย์ดิจิตอลฟอเรนสิกส์ ชำแหละเพื่อพิสูจน์ http://news.ch3thailand.com/local/15542

Credit: ศูนย์ดิจิตอลฟอเรนสิกส์ ชำแหละเพื่อพิสูจน์ http://news.ch3thailand.com/local/15542 



ที่มา:

 หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WindowsForensic #computerforensic #ComputerForensics #dfir #forensics
#digitalforensics #investigation #cybercrime #fraud #พยานหลักฐานดิจิทัล

Digital Forensics:C5W-100 INTRODUCTION TO DIGITAL FORENSICS

Digital Forensics:C5W-100 INTRODUCTION TO DIGITAL FORENSICS We are a team of digital forensics specialists dedicated to helping businesses, ...