Saturday, December 19, 2015

Digital Forensics: หลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์และการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัล

Digital Forensics:หลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์และการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัล

 

โปรแกรมบรรยายสาธารณะว่าด้วย "หลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์และการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัล" 

Digital Forensics & Electronic Evidence

Digital Forensics & Electronic Evidence

หลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์และการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัล (Public lectures on digital forensics and electronic evidences) ว่าด้วยการสืบค้นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการตรวจพิสูจน์ ซึ่งกระบวนการจะดำเนินไปตามที่กฎหมายกำหนด ในการตรวจพิสูจน์จะมุ่งให้ได้มาซึ่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากกระบวนทำงานของคอมพิวเตอร์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากการกระทำของบุคคล ทั้งนี้ การได้มาซึ่งข้อมูลจะนำไปสู่การสืบค้นความจริงหรือค้นหาผู้กระทำความผิดต่อไปได้ การสร้างความชัดเจนตั้งแต่กระบวนการเก็บรักษา การตรวจพิสูจน์ การนำมาวิเคราะห์ เครื่องมือและแนวทางปฏิบัติที่นำมาใช้ในการตรวจพิสูจน์ การเชื่อมโยงกับข้อกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา การนำเสนอเพื่อต่อสู้ทางคดี จะทำให้แนวทางการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัลได้รับการยอมรับ ซึ่งจะช่วยหนุนเสริมกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะในคดีที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ได้

ในการนี้ “โปรแกรมบรรยายสาธารณะว่าด้วยหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์และการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล” จึงถูกจัดขึ้น เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์และการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ ตลอดจนมุ่งหวังว่าความรู้ด้งกล่าวจะสามารถนำไปใช้สนับสนุนการต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรมให้กับพยานได้นั่นเอง

 

การบรรยายครั้งที่ 1 : หลักการและกฎหมายพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์


digital forensics and electronic evidences

โดย ผศ.สาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วันที่ 11 ตุลาคม 2558 ที่ห้อง 412 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

..................................................................................................................

การบรรยายครั้งที่ 2 หัวข้อ "กระบวนการแสวงหาและพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลเชิงเทคนิค"

Digital Forensics & Electronic Evidence

โดย กิตติพงษ์ ปิยะวรรณโณ

วันที่ 18 ตุลาคม 2558 ห้อง 202 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

................................................................................................................

 

การบรรยายครั้งที่ 3 หัวข้อ "พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในรัฐ

Digital Forensics & Electronic Evidence

โดย
พ.ต.ท.หญิง จีรบูรณ์ บำเพ็ญนรกิจ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

พ.ต.ท.สันติพัฒน์ พรหมะจุล กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

วันที่ 25 ตุลาคม 2558 ห้อง 202 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

.................................................................................................................

 

การบรรยายครั้งที่ 4 หัวข้อ "ทนายกับการต่อสู้คดีในกระบวนการพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์"

บรรยายโดย
1) ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
2) ธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
3) ธิติพงษ์ ศรีแสน ทนายด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
ที่ห้อง 202 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

วันอาทิตย์ ที่ 8 พฤศจิกายน 2558 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

.................................................................................................................

 

การบรรยายครั้งที่ 5 หัวข้อ "กรณีศึกษาคดีพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย"

กรณีศึกษาคดีพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

โดย
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
กิตติพงษ์ ปิยะวรรณโณ ผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการอิเล็กทรอนิกส์
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต

 


วันที่ 15 พ.ย.2558 ที่ห้อง 202 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

...............................................................................................................

 

การบรรยายครั้งที่ 6 หัวข้อ "กรณีศึกษาคดีพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศ"

กรณีศึกษาคดีพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศ


บรรยายโดย

สฤณี อาชวานันทกุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต
สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

วันที่ 13 ธันวาคม 2558 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

...............................................................................................................

 

ที่มา:

Thai Netizen มูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง (เครือข่ายพลเมืองเน็ต)

หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WindowsForensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics #computerforensic #investigation #cybercrime #fraud #ElectronicEvidenceคือ

Digital Forensics:WhatsMyName (OSINT)

Digital Forensics:WhatsMyName (OSINT) Welcome to WhatsMyName This tool allows you to enumerate usernames across many websites How to use: 1....