Thursday, January 10, 2019

Digital Forensics :หลักสูตรการสืบสวนสอบสวนคดีการเงินการธนาคาร

Digital Forensics :หลักสูตรการสืบสวนสอบสวนคดีการเงินการธนาคาร

Financial Crime Investigations

หลักการและเหตุผล 

        สืบเนื่องจากภาคธุรกิจการเงินการธนาคารได้ประสบกับปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย โดยพบคดี ความผิดหลายคดีที่มีการปล่อยสินเชื่อและแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ มีการยักยอกฉ้อโกงและกระทำทุจริต และเชื่อมโยงไปถึงการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลทั้งต่อระบบเศรษฐกิจและ ความเชื่อมั่นด้านการค้าการลงทุน ปัญหาดังกล่าวส่วนใหญ่เกิดจากการสืบสวนสอบสวนและดำเนินคดีอาทิ ในความผิดเกี่ยวกับสถาบันการเงินที่พบว่า สถาบันการเงินหลายแห่งมีการปล่อยสินเชื่อหละหลวม พบการ ทุจริตของพนักงานหรือผู้บริหารสถาบันการเงินและมีการดำเนินคดีกับผู้บริหารสถาบันการเงินจำนวนหลายคดี แต่ผลการดำเนินคดีที่ประสบความสำเร็จมีจำนวนไม่มากนัก ส่วนใหญ่รัฐไม่สามารถดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำ ความผิดได้ เนื่องมาจากการขาดพยานหลักฐานที่ครบถ้วนสมบูรณ์และเพียงพอในการนำเข้าสู่ขั้นตอนของ กระบวนการยุติธรรม พบปัญหาการพิสูจน์พยานหลักฐาน ปัญหาการติดตามทรัพย์สินเพราะเทคโนโลยีใน ปัจจุบันทำให้การสืบสวนสอบสวนเพื่อปราบปรามความผิดเกี่ยวกับการเงินและสถาบันการเงินกระทำได้ยากขึ้น ด้วยลักษณะความผิดมีรูปแบบที่หลากหลายและมีพัฒนาการที่ซับซ้อนมากขึ้นยากต่อการแสวงหา พยานหลักฐาน และพยานหลักฐานที่ได้มาส่วนใหญ่เป็นพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือพยานดิจิทัล นอกจากนั้น ยังพบปัญหาการขยายผลในคดีฟอกเงินเ พราะผู้กระทำความผิดจะกระทำการ ฟอกเงิน โดยการโอนเงินหรือโยกย้ายทรัพย์สินด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งในการสืบสวนสอบสวนคดีการเงินการ ธนาคารมีเกี่ยวข้องในกระบวนการบังคับใช้หลายฉบับ อาทิประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมาย ว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษและกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการกระทำความผิดในสถาบันการเงิน การสืบสวน รวบรวม พยานหลักฐานและการสอบสวนคดีการเงินการธนาคาร การติดตามเส้นทางการเงิน การนำสืบและการชั่ง น้ำหนักพยานหลักฐาน ตลอดจนการขยายผลในคดีฟอกเงินให้ผู้ที่ปฏิบัติงานในภาคการเงินการธนาคาร สมาคม รัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการส่งเสริมความรู้ทางวิชาการ จึงได้ จัดโครงการอบรมหลักสูตรการสืบสวนสอบสวนคดีการเงินการธนาคาร (รุ่น 2) ขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ บุคลากรของสถาบันการเงินหรือองค์กรธุรกิจ ผู้ตรวจสอบภายใน ผู้กำกับดูแลการปฎิบัติงาน ทนายความ ที่ ปรึกษากฎหมาย หรือผู้สนใจทั่วไป 


หลักสูตรการสืบสวนสอบสวนคดีการเงินการธนาคาร

วัตถุประสงค์ 

  • เพื่อให้ผู้อบรมมีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบของความผิดเกี่ยวกับการเงินการธนาคาร 
  • เพื่อให้ผู้อบรมมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสืบสวน การรวบรวมพยานหลักฐาน และการสอบสวน ความผิดคดีการเงินการธนาคาร 
  • เพื่อให้ผู้อบรมมีความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน การนำสืบพยานหลักฐาน การรับ ฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์หรือพยานหลักฐานดิจิทัล 
  • เพื่อให้ผู้อบรมเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบและติดตามเส้นทางการเงินและขยายผลในคดีฟอกเงินใน คดีความผิดเกี่ยวกับการเงินการธนาคาร 
  • เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย และตัวอย่างกรณีศึกษาคดีความผิดเกี่ยวกับสถาบันการเงินและความผิดเกี่ยวกับการทุจริตระหว่าง ผู้เข้าร่วมอบรมกับวิทยากร 
  • เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาการของสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

  • หลักสูตรการสืบสวนสอบสวนคดีการเงินการธนาคาร

หัวข้อบรรยาย

  • ความผิดเกี่ยวกับการเงินการธนาคาร 
  • การสืบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน คดีการเงินการธนาคาร
  • การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทาง อิเล็กทรอนิกส์
  • การสอบสวนคดีการเงินการธนาคาร
  • การสืบพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ 
  • การขยายผลในคดีฟอกเงินและ การติดตามเส้นทางการเงิน
  • การตรวจพิสูจน์พยานเอกสาร
  • การรับฟังและชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส

วุฒิบัตร ผู้อบรมที่เข้าร่วมการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาอบรมตลอดโครงการจะได้รับวุฒิบัตรจาก สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 5. หัวข้อและกำหนดการ

หัวข้อและกำหนดการ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ 095 – 951- 0017 E-mail thailawtraining@gmail.com Website www.thailawtraining.com 


ภาพประกอบโครงการอบรมหลักสูตร


อ่านเพิ่มเติม:  อบรม computer forensic

หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ


#WINDOWSFORENSIC #COMPUTERFORENSICS #DFIR #FORENSICS #DIGITALFORENSICS #COMPUTERFORENSIC #INVESTIGATION #CYBERCRIME #FRAUD


No comments:

Post a Comment