Saturday, October 13, 2018

DIGITAL FORENSICS:คดีกระทำความผิดโดยใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ

DIGITAL FORENSICS:คดีกระทำความผิดโดยใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ

 
#คดีกระทำความผิดโดยใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ
การใช้คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือในการทำผิด จะมีมากขึ้นเรื่อยๆในอนาคต.. การสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิด..และการรวบรวมพยานหลักฐาน จำเป็นต้องใช้ความรู้ใหม่ๆ..เพื่อทราบว่าหลักฐานอยู่ที่ไหน..
โดยทั่วไปหลักฐานดิจิตัลจะหาได้ใน 3 แหล่งที่ตำรวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานจะต้องทราบและเก็บมาเสนอต่อศาล..นั่นคือ...
1) แหล่งที่ตั้งของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือที่ใช้ในการกระทำผิด..
เช่น ข้อมูลที่ค้างอยู่บนจอภาพและในความจำชั่วคราวขณะเข้าจับกุม.. cookies.. ประวัติการเข้าเวปไซต์.. thumb drive ที่เสียบอยู่.. แผ่นดิสก์ที่อยู่ใกล้เคียง..
2) แหล่งที่ตั้งของ Server, Gateway, Cellsite, ISP หรือผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เนต หรือค่ายมือถือ..
เช่น ข้อมูลการติดต่อสื่อสารที่บ่งบอกเวลา.. IP Address.. เบอร์โทร.. หมายเลขอีมี่ของเครื่อง ระหว่างมือถือกับ ISP ที่เก็บไว้ (log files)..
3) แหล่งที่ตั้งของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือที่ความผิดปรากฎ..
เช่น ภาพหน้าจอที่ปรากฎการกระทำผิด เช่น ข้อความหมิ่นประมาท..หลอกลวงโดยแสดงภาพ/ข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้ส่งมอบข้อมูลส่วนบุคคล (phishing).. ไวรัส หรือคำสั่งให้โจมตีระบบ (malicious code) ที่ฝังตัวอยู่ในเครื่อง..
พนักงานอัยการมีหน้าที่พิจารณาสั่งฟ้อง และนำพยานมาสืบในศาล .. อัยการจึงต้องรู้ว่า electronic data ชิ้นใดที่ได้มาจาก 3 แหล่งนั้นเป็นหลักฐานสำคัญ และมีเพียงพอให้ศาลรับฟังลงโทษจำเลยได้..
ผู้พิพากษามีหน้าที่พิสูจน์ความจริง ยกฟ้องผู้บริสุทธิ์และลงโทษคนทำผิดอย่างเหมาะสม .. ศาลจึงต้องรู้ว่า อะไรจริง อะไรเท็จ..
digital evidence ชิ้นใดที่ต้องถูกตัดมิให้รับฟัง (exclusionary rule).. หลักฐานปกติและหลักฐาน electronic evidence ชิ้นใดที่จะนำมาชั่งน้ำหนัก..
การให้คุณค่า ความน่าเชื่อถือของพยานที่เป็นข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์และที่เป็นผู้เชี่ยวชาญที่จะมาเบิกความประกอบ ..
.. ทั้งหลายทั้งปวงนี้ ท้าทายความรู้ความสามารถ ทั้งตำรวจ อัยการ และศาลเป็นอย่างยิ่ง.. เพราะความรู้ตามตำราที่เคยเรียนมาในชั้น ป. ตรี ป. โท และนบท. รวมทั้ง คำพิพากษาเก่าที่เคยตัดสินแบบนี้มาก่อน (precedent) นั้น... .. ไม่มี!
องค์ความรู้ใหม่ๆเหล่านี้คือความรู้ทางวิชาการที่จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม .. ส่วนแนวทางการตัดสินคดี คำพิพากษาฎีกาทั้งหลาย แม้จะมีคุณค่าและเป็นประโยชน์ในการทำงาน แต่ก็มิใช่องค์ความรู้ทางวิชาการในเรื่องนี้..
คดีในปัจจุบัน ถ้าตำรวจ อัยการ ศาล.. เอาความรู้ระดับกฎหมายสี่มุมเมือง (ปพพ. ปอ. ปวิพ. ปวิอ.) มาใช้ ย่อมไม่เพียงพอที่จะ ค้นหาความจริงได้. .. ความเป็นธรรมย่อมไม่เกิด..
... ถึงเวลา (นาน) แล้วครับ.. ที่โรงเรียนสอนกฎหมายทุกแห่งในประเทศไทย ควรสอนวิชาใหม่ๆ เช่น
  • Cyber Crime (การโจมตีโดยระบบคอมพิวเตอร์)

  • Digital Forensic (การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์) และ

  • Digital Evidence (การรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานที่เป็นดิจิตัล)

ขอฝากครูบาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆไว้ด้วยความเคารพครับ..
 
 

 
ที่มา:facebook ท่านอาจารย์. ดร.ธีร์รัฐ ไชยอัคราวัชร์ 12 ก.ย 2561
 
ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์. ดร.ธีร์รัฐ ไชยอัคราวัชร์ ขออนุญาตแชร์เป็นวิทยาทาน 


หมายเหตุ:เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น

* หากมีข้อมูลข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  รบกวนแจ้ง Admin เพื่อแก้ไขต่อไป
ขอบคุณครับ

#WindowsForensic #computerforensic #ComputerForensics #dfir #forensics #digitalforensics #investigation #cybercrime #fraud #DigitalEvidence #CyberCrime

 

No comments:

Post a Comment

Digital Forensics:WhatsMyName (OSINT)

Digital Forensics:WhatsMyName (OSINT) Welcome to WhatsMyName This tool allows you to enumerate usernames across many websites How to use: 1....